วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แพะ


การเลี้ยงแพะแบบก้าวหน้า ตอนที่ 3 หลักการให้อาหารแพะ

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแพะ บางคนคิดว่าแพะเลี้ยงง่ายกินกระถินหรือปล่อยให้หากินใบไม้ กินหญ้าริมทางก็โตแล้ว ความคิดถูกเพียงครึ่งเดียวครับ จากการวัดการเจริญเติบโตงานวิจัยหลายที่ จะได้ผลเฉพาะหน้าฝนที่มีหญ้า หรือกระถินอุดมสมบูรณ์แต่ในหน้าแล้งบางช่วงแพะน้ำหนักลด ยกเว้นภาคใต้ฝนตกตลอดปี แต่ฝนตกมากๆแพะก็ออกไปกินหญ้าไม่ได้
แพะน้ำหนักลดก็มีครับ





ดังนั้นผมจะเล่าถึงการให้อาหารในแนวการเลี้ยงแบบก้าวหน้าโดยมีหลักดังนี้ อาหารแพะประกอบด้วย

1.อาหารข้น เป็นแหล่งให้โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ สารเสริม
หลักการให้อาหารข้นให้ไม่เกิน 3 % ของน้ำหนักตัว/วัน เช่นแพะหนัก
30 กก กินอาหาร 30*3% = 0.9 กก/ตัวต่อวัน แบ่งเป็น 2 มื้อ เช้า-เย็น
การให้อาหารแพะ เราก็มีหลักการโดยยึดหลักง่ายๆโดยยึดเอาแพะหนัก 30 กก เพื่อยกตัวอย่าง ดังนี้ (รายละเอียดนอกเหนือจากนี้ต้องศึกษาจากตำราด้านโภชนะเองครับ)

>>โภชนะเพื่อการดำรงชีพของแพะหนัก 30 ก.ก. (กิจกรรมต่างๆของแพะ ไม่รวมการเพิ่มน้ำหนัก) ใช้พลังงาน TDN =362 กรัม โปรตีน (crude protien) =51 กรัม
ดังนั้นถ้าเราให้อาหาร โปรตีน 14 % ใน 1 ก.ก.อาหาร มีโปรตีน 140 กรัม ถ้าให้ 0.9 ก.ก. *140 ได้โปรตีน= 126 กรัม ลบดำรงชีพ 51 กรัม
เหลือเอาไปเพิ่มน้ำหนัก 126 -51 =75 กร้ม (พอได้แนวคิดนะครับ ส่วน พลังงานถ้าสนใจลองไปศึกษาเพิ่มเอาครับ)
>>ส่วนที่สองเป็นโภชนะเพื่อการเพิ่มน้ำหนัก โดยมีตัวเลขดังนี้

การเพิ่มน้ำหนัก 100 กรัม ( 1 ขีด) จะใช้ ใช้พลังงาน TDN =200 กรัม โปรตีน (crude protien) = 28 กรัม
เมื่อกินอาหารและหักดำรงชีพจะเหลือโปรตีน 75 กรัม เพื่อใช้
เพิ่มน้ำหนักได้ =(75/28)*100 =267 กรัม หรือ 0.26 กิโลกรัม/วันหรือ เรียกเป็นภาษาง่ายๆว่า 2.6 ขีด/วัน หรือ >>โต 1 กิโลกรัมภายใน 1/0.267=3.74 วัน>> หรือเดือนละ 30*0.267 = 8 กก >>หรือ ขุนจำนวน 4 เดือน จะได้น้ำหนัก 4*8= 24 กก อันนี้รับรองได้น้ำหนักแน่นอน

ส่วนการให้กระถินอย่างเดียวน้ำหนักจะเพิ่มน้อยกว่าและถ้าให้ไม่พอแพะจะน้ำหนักเพิ่มน้อย แพะจะพุงกางน้ำหนักไม่ได้ เวลาขนย้ายแพะจะน้ำหนักหายมากกว่ากินอาหาร








ส่วนการให้อาหารแม่แพะอุ้มท้อง – แม่แพะเลี้ยงลูก-แม่แพะหย่านม เรามีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. สภาพร่างกายแม่แพะหลังคลอดไม่ทรุดโทรมผอม
2. แม่แพะมีปริมาณน้ำนมเพียงพอสำหรับเลี้ยงลูก โดยเฉพาะให้ลูกแฝด
ถ้าแม่นมน้อยโอกาสลูกจะแคระแกรนและอัตราการตายสูง
3. แม่แพะมีสภาพร่างกายพร้อมรับการผสมพันธุ์ในท้องถัดไป
4. ช่วยระบบสืบพันธุ์สมบูรณ์ เพิ่มการตกไข่ทำให้โอกาสได้ลูกแฝดได้สูงกว่ากินหญ้าอย่างเดียว

แม่ที่กินอาหารเสริม ทำให้มีนมมาก เลี้ยงลูกแฝดได้ดีอัตรารอดสูงและแม่ไม่ผอม





การให้อาหารข้นเสริม จะช่วยเรื่องปริมาณนมในกรณีลูกแฝด และหย่านมลูกแพะได้เร็ว





ลูกแพะที่ได้รับนมพอเพียงจะสมบูรณ์ โตเร็วไม่แกรน





แม่แพะที่ให้นมจะให้กินอาหาร 1.2-1.3 กิโลกรัม/ตัว/วัน


อาหารแม่แพะให้นม ควรมีโปรตีน 16% และไม่มีส่วนผสมของยูเรีย





รางอาหารทำแบบง่ายๆดัดแปลงมาจากท่อ PVC




แต่ต้องทำราวกั้น เพราะแพะมันดื้อกินแล้วชอบปีนไปบนรางอาหาร
ขี้ใส่หรือคุ้ยเขี่ยอาหารตกเสียหาน การทำราวกั้นตามรูปช่วยแก้ปัญหาได้ครับ





อาหารแพะแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 อาหารลูกแพะแรกเกิด – 4 เดือน

มีโปรตีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 18
ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดี เยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ลดปัญหาท้องเสีย
มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นมผง ช่วยเสริมนมแม่
มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน สำหรับการเติบโตของลูกแพะ ไม่มีส่วนประกอบของยูเรีย

>>>เพื่อให้ลูกแพะมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ลูกแพะสามารถหย่านมได้เร็ว การเติบโตหลังหย่านมไม่ชะงักสุขภาพแม่แพะไม่ทรุด


ระยะที่ 2 อาหารแพะรุ่น-แพะขุน – แพะท้องว่าง – แพะท้องไม่เกิน 3 เดือน

มีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 14
เป็นอาหารข้นสำหรับแพะขุน
ไม่มีส่วนผสมของยูเรีย ทีเป็นพิษต่อแพะ
มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน
มีพลังงานสูงเพื่อเพิ่มน้ำหนัก

>>จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การสร้างโครงสร้างและเสริมสร้างความสมบูรณ์พันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็ว ผสมติดง่าย


ระยะที่ 3 อาหารแพะท้องมากกว่า 3 เดือน – แพะให้นม

มีโปรตีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 16
ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดีที่ย่อยง่าย
ไม่มีส่วนผสมของยูเรีย ทีเป็นพิษต่อแพะ
มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน

>> อาหารจำเป็นสำหรับแพะท้อง และการเจริญเติบโตของลูกในช่วง 2 เดือนแรกคลอด รวมถึงแม่แพะในระยะให้นมที่มีความต้องการโปรตีนและพลังงานสูงเพื่อการสร้างน้ำนม และเสริมสร้างสภาพร่างกายหลังคลอดให้สมบูรณ์

2. อาหารหยาบ เป็นอาหารอีกส่วนที่ต้องใช้เลี้ยงแพะ ใช้ร่วมกับอาหารเม็ด เป็นตัวหลักในการเลี้ยงแพะ ส่วนอาหารเม็ดเป็นอาหารเสริมใช้ร่วมกันจะทำให้แพะ เติบโตสูงสุดและต้นทุนต่ำ สร้างกำไรมากกว่าใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เปรียบง่ายๆเหมือนจักรยานปกติต้องมี 2 ล้อจึงจะวิ่งได้ดี ครับ

อาหารหยาบที่นิยมในการเลี้ยงแพะคือ กระถินครับ









หญ้าขน





หญ้าแพงโกล่า





หญ้ารูซี่






แนวทางการให้อาหารแพะที่ถุกต้อง เราจะจำกัดการให้อาหารข้นตามระยะ น้ำหนักตัว คุณภาพอาหารหยาบ โดยยึดหลักง่ายๆคือ ไม่เกิน 1-1.5%ของน้ำหนักตัวแพะ
ส่วนอาหารหยาบให้กินเต็มที่ครับ โดยส่วนใหญ่จะกินประมาณ 3 % ของน้ำหนักตัว
ยกตัวอย่างเช่น แพะหนัก 30 กก
จะกินอาหารข้น 0.3-0.45 กก/ตัว/วัน
จะกินอาหารหยาบ 0.9 กก(น้ำหนักแห้ง) คิดเป็นหญ้าสดได้ 3.6-4 กก/ตัว/วัน
พอได้แนวคิดการให้อาหารแล้วนะครับ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งานที่หก

ก้านดอกแช่ในสารละลายที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส 5 % และ 8 - HQC ความเข้มขข้น  200 ส่วนต่อล้าน พบว่าช่วยให้ดอกไม้บานมากกว่า 92 % และช่วยชะลอการร่วงของดอกไม้้ Son et al. (2003) ศึกษาอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Red Sandra โดยการทำ plusing ด้วย AgNO3 ความเข้มข้น 1 มิลลิโมล และ STS ความเข้มข้น 1 มิลลิโมล นาน 3 ชั่วโมง พบว่าทำให้มีอายุการปักแจกันนาน 10.8 และ 11.1  วัน ตามลำดับ เช่นเดียวกับ Halevy and Kofranek (1977) รายงานว่า เงินมีผลต่อการยืดอายุดอกไม้ เพราะสามารถป้องกันหรือลดความเสียหายของดอกไม้ที่เกิดเอทธิลีนโดยยับยั้งการสังเคราะห์เอทธิลีน การหายใจ และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตตของจุนลินทรีย์ในสารละลายปักแจกันดอกไม้ ช่วยลดการอุดตันของท่อลำเลียง (Cameron et al 1985) 
       3.1.6 โคบอลท์ ( co + 2 ) โคบอลท์เป็นโลหะหนักซึ่งช่วยเพิ่มการดูดน้ำ ทำให้อายุการใช้งานดอกไม้นานขึ้น นิยมใช้สารประกอบโคบอลท์ในรูปของโคบอลท์อะซิเตท โคบอลท์ไนเตรท และโคบอลท์ซัลเฟท เป็นต้น Reddy ( 1986 ) รายงานว่าโคบบอลท์สามารถยับยั้งการอุดตันของท่อลำเลียง เพิ่มอัตราการเคลื่อนที่ของน้ำในก้านดอกไม้และเพิ่มน้ำหนักดอกสด ชะลอการเกิดการโค้งงอของคอดอก ยืดอายุการใช้งานและช่วยปรับสมดุลของน้ำภายในดอกกุหลาบ พิณรัตน์ ( 2528 ) ทำการทดลองใช้สารโคบอลท์คลอไรด์ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5.0 % ในดอกกุหลาบพันธุ์  Christian Dior ช่วยลดการเน่าบริเวณลอยตัด และทำให้ดอกมีอายุการใช้งานนานกว่าดอกกุหลาบที่ไม่ได้ใช้สารเคมี
         3.1.7 สารชะลอการเจริญเติบโต ( plant growth retardants ) สารชะลอการเจริญเติบโตจัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ สารชนิดนี้เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้ คือ ชะลอตัวการแบ่งเซลล์ และการยืดตัวของเซลล์บริเวณใต้ปลายยอดกิ่ง ดังนั้นจึงใช้สารกลุ่มนี้มีประโยชน์อย่างมากมายทางการเกษตร เช่น เพิ่มผลผลิตผักหลายชนิด ช่วยการติดผล เพิ่มคุณภาพผล เร่งการออกรากของกิ่งปักชำ เบญจมาศและคาร์เนชั่นยืดอายุการเก็บรักษาผัก และดอกไม้หลายชนิด ซึ่งสารชะลอการเจริญเติบโตที่ใช้ในการเก็บรักษาผักและดอกไม้ ได้แก่   daminozide ชื่อการค้า Alar 85 B - Nine ชื่อเคมี  butanedioic  acid mono - ( 2,2 dimethylhydrazide ) Larsen and Scholes ( 1965 ) r[;jklki]t]kpmujxitdv[wxfh;p daminozide 500 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำตาลซูโครส 5 % และ HQS 400 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยืดอายุการปักแจกันของคาร์เนชั่นพันธุ์ Red Gayety และพันธุ์ Peterson New PInk
               Larsen and Frolich ( 1969 ) ทำการศึกษาผลของ HQS กฟทรืนผรกำ และน้ำตาลซูโครสที่มีอัตราการหายใจ และอัตราการไหลผ่านของน้ำในดอกคาร์เนชั่นพันธุ์ Red Sim พบว่าดอกคาร์เนขั่นที่ตัดมานั้นเมื่อนำมาปักแจกันในน้ำธรรมดา อัตราการหายใจจะลดต่ำลงไป
เเรื่อยๆและค่อยเพิ่มขึ้นจนถึงที่สุดในวันที่ 6 และ 7
ตาบอลิค ( non-metabolic  sugar ) เช่น แมนนิทอล และ แมนโนส ใช้ไม่ได้ผลบางครั้งยังเกิดอันตรายกับดอกไม้อีกด้วย
           น้ำตาลนอกจากจะเป็นวแหล่งอาหารของดอกไม้แล้ว ยังมีบทบาทอื่นอีก คือ ช่วยปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ โดยรักษาโครงสร้างและหน้าที่ของไมโตคอนเดรีย ช่วยปรับสมดุลของน้ำลดลงและเพิ่มอัตราการดูดน้ำทำให้เซลล์ยังเต่งอยู่ ป้องกันการสลายตัวของโปรตีน ลดการสะสมของแอมโนเนีย และช่วยปรับความเป็นกรด-ด่างในกลีบดอก ทำให้ดอกกุหลาบเกิด blueing น้อยน้ำาตาลยังช่วยลดการละเหยของน้ำ ( nati - tranpiration ) โดยลดการเปิดปากใบ เพิ่มน้ำหนัก ป้องกันการเกิด  proteolysis ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสีของกลีบ
             นอกจากนี้สารละลายซูโครสความเข้มข้น  0.25% ยังสามารถลดการชะลอการเหี่ยวของใบกุหลาบตัดดอก ( Albert and Harper 1995 ) การทำ pulsing โดยใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำตาลซูโครส ร่วมกับ 8 - HQC 200   มิลลิกรัมต่อลิตร แช่ดอกกุหลาบบาน 10 ชั่วโมง สามารถยืดอายุการใช้งานและคุณภาพของดอกกุหลาบได้ การใช้สารละลายน้ำตาลซูโครส 10% ร่วมกับSTS 500ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้เนชั่นบานได้นานขึ้น Doi and Rei (1995) รายงานว่าการทำ pulsing โดยใช้น้ำยาส่วนผสมของ Physan เเละน้ำตาลโครส 100 กรัมต่อลิตร โดยใช้น้ำดีไอออไนซ์เป็นตัวทำละลายเเช่ดอกนาน 12 ชั่วโมง สามารถช่วยให้ดอก limoniym มีอายุการใช้งานดีขึ้น เเละลดการเสื่อมสภาพพร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน้ำเข้าสู็ดอกด้วย
               ภัชรี (2537)  ศึกษาผลของสารละลาย Physan ที่ระดับความเข้มข้น 150 ส่วนต่อล้านส่วน ร่วมกับน้ำตาลโครส 5.0% พบว่าสามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอกกุหลาบพันธุ์คริสเตียนดิออรื ไอเฟลทาวเออร์ เเยงกี้ เเละส้มเเดดได้ เพราะในสารละลายนี้มี Physan ซึ่งมีผลฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (Haievy and Mayak, 1981) ลกการอุดตันของก้านดอก น้ำจึงสามารถขึ้นไปสู่ก้่นดอกได้สะดวก ขณะเดียวกันมีน้ำตาลซูโครสช่วยลดการระเหยของน้ำ โดยการลดการเปิดปากใบ ช่วยให้ดอกกุหลาบไม่ขาดน้ำ ลดการสะสมของเเอมโมเนียที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของเม้ดสีให้กลีบดอก
               3.1.3 สารควบคุมเชื้อจุลนทรีย์ เป็นสิ่งจำเป็นในสารละลายเคมีเเช่ดอกไม้ เพราะว่าในน้ำยาที่ใช็ดอกไม้มักจะมีเชื้อรา เเบคทีเรีย เเละยีนตื ปะปนอยู่ อาจทำให้เกิดการอุดตันของก้านดอกทำให้ก้านดอกดูดน้ำได้น้อยลง ส่งผลให้ดอกไม้เกิดการร่วงดรยได้เร็ว เเละมีอายุการปักเเจกันสั่นลง ทำให้เกิดการอุดตันเเละขัดขว้างการดูดน้ำของก้านดอก จึงยิยมเติมสารยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ลงไปในน้ำยาด้วย (ยุงยุทธ, 2540)
               3.1.3.1 8-ไฮดรอกซีควิโนลีน (8-hydroxyquinoline ; 8-HQ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในรูปของเกลือซัลเฟต(HQS) เเละเกลือซิเตรท (HQC) Rogers (1973)  รายงานว่า  การใช็ที่ความเข้มข้น   200-600 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า HQS เเละ HQC เเละสามารถควบคุมการเจริญของเเบคทีเรียเเละเชื้อราในน้ำได้ สาร HQC สามารถรดการอุดตันของท่อลำเลียงได้ เนื่องจากทำหน้าที่เป็น chelating agent ในการจับกับโลหะ ได้เเก่ ได้เเก่ เหล็ก เเลละทองเเดง ซึ่งโลหะเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเนื้อเยื่อเเละทำให้เกิดการอุดตัน เมื่อโลหะถูกยึดไว้ เอนไซม์จึงทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงลดการอุดตันได้ Ichimura and Hisamatsu (1999) รายงานว่า การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำตาลโครส 50 กรัมต่อลิตร สามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอก Snapdragon  นอกจากนี้การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 50-400มิลลิกรัมต่อลิตร เเละน้ำตาลซูโครส 5.0% สามารถช่วยลดการเกิด buieing การโค้งงอขอคอดอก เเละการอุดตันของท่อลำเลียงของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian  Doir ทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ซึ่งเติม 8-HQS เเละ 8- HQC ลงไปในน้ำจะทำให้น้ำสภาพในเป็นกรด(pH ประมาณ 4) ทำให้จุลินทรีย์ ในน้ำเจริญเติบโตได้น้อย ช่วยรักษาสมดุลของน้ำเเละมีผลในการยับยั้งการสร้างเอทธิลีนในดอกคาร์เนชั่นด้วย ( Halevy and Mayak 1981 ) โสภิณ ( 2535 ) รายงานว่าการยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดงพันธุ์ " Christian Dior ) โดยสารละลาย  เข้มข้น  0 200 300 400 ส่วนต่อล้านส่วน และ 8-hydroxyquinoline  เข้มข้น 200 400 600 ส่วนต่อส่วนล้าน ทั้งที่มีและไม่มีน้ำตาล ซูโครส 10 %  ในน้ำกลั่นที่ปรับ pH ให้เป็น 4 ด้วยกรดซตริในการปักแจกันที่ห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 23 องศา เซลล์เซียนความชื่นสัมพัทธ์ 70.25 % โดยเฉลี่ยปรากฎว่า ในดอกกุหลาบที่ปักใยสารละลายที่ไม่มี  CoCl2 และน้ำตาลซูโครส 10 % จะมีการเปลี่ยนสีของดอกมากและมีอายุการปักแจกันเพียง 3.1 วัน
             3.1.3.2 สารประกอบที่ปลดปล่อยคลอรีนอย่างช้าๆ ( slow - release  chlorine compound ) มีผลอย่างมากในการกำจัดแบคทีเรีย สารเหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมคุณภาพของดอกไม้ระดับความเข้มข้นที่ใช้ตั้งแต่ 50 - 400 มิลลิกรัมต่อลิตรสารประกอบในกลุ่มนี้เช่น sodiumdichloroisocyanuratr ( DICA ) สารนี้ช่วยลดประชากรเชื่อจุนลินทรีย์ในน้ำทำให้ดอกไม่มีการอุดตันของท่อน้ำลำเลี้ยงน้อยและดูดน้ำมาก ( สายชล เกตุษา 2531 การใช้ DICA ความเข้มข้น  30 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมมกับน้ำตาลซูโครส 5.0 % สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian Dior ช่วยให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยนาน 7.7วันโดยที่ไม่มีการโค้งงอของคอดอก ( สนั่น 2531) และ  DICA ช่วยยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Sonia  เนื่องจากช่วยลดประชากรแบคที่เรีย ( Van Doorn and Perik 1990 ) แต่ความเข้มข้นของ DICA มากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจทำให้ดอกกุหลาบ เบญจมาศและลิ้นมังกร เกิดความเสียหายได้ คือ ใบ
 

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งาน 2

พล และสายชล ( 2532 ) ศึกษาคุณภาพของชนิดน้ำต่างๆที่มีผลต่ออายุการปักแจกันดอกกุหลาบ พบว่าการปรับความเป็น กรด - ด่าง ของน้ำที่ใช้ปักแจกันให้มีสภาพเป็นกรด  โดยใช้กรดซิตริกมีแนวโน้มทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันนานขึ้น โดยที่ความเป็นกรด - ด่างเป็น 4 ในน้ำที่ปราศจากประจุและน้ำกลั่นให้อายุปักแจกันนานที่สุด เนื่องจากน้ำแหล่งต่างๆมักมีอนุภาคบางอย่างละลายอยู่หรือมีอนุภาคบางชนิดแขวนลอยอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น น้ำบาลดามีแคลเซียมคาร์บอเนท ละลายอยู่มาก ทำให้มีการอุดตันในระบบท่อลำเลี้ยงน้ำได้ง่าย
          น้ำจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำกลั่น น้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา มีคุณภาพแตกต่างกันืเมื่อใช้น้ำแหล่งต่างๆเหล่านี้เตรียมน้ำยาประสิทธิภาพของสารละลายเคมีต่างๆในการปักแจกัน การทำพัลซิ่ง ( plusing ) และการเร่งการบานของดอกจะแตกต่างกันด้วย น้ำกลั่นสามารถยืดอายุการปักแจกันดอกไม้ และเพิ่มประสิทธิภาพของสารที่ใช้ยืดอายุการใช้งานดอกไม้ได้ดีเพราะช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำ ลดอัตราการโค้งงอของดอก และเพิ่มอัตราการดูดน้ำ
        นอกจากนี้มีรายงานว่าถ้าในน้ำมีปริมาณ TDS 200 ส่วนต่อล้านส่วน จะทำให้ดอกกุหลาบ เบญมาศและคาร์เนชั่น มีอายุการใช้งานสั้นลง เช่นเดียวกันถ้ามีปริมาณเกลือในน้ำ 100 ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้อายุการใช้งานของดอกไม้ลดลงไปด้วย เช่น การเติมกรดอินทรีย์บางชนิดเพื่อปรับความเป็น กรด - ด่าง ให้ได้ประมาณ 3 -4 เพราะจะทำให้อัตราการไหลของน้ำในก้านดอกเพิ่มขึ้นและทำให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำเป็นไปอย่างช้าๆ (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )
3.1.2 น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัยของดอกไม้ เพราะดอกไม้ใช้น้ำตาลในกระบวนการการหายใจและพลังงาน ATP ซึ่งดอกไม้นำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ( สายชล เกตุษา 2531) ดอกไม้เมื่อตัดออกจากต้นแล้วดอกไม้จะขาดอาหารที่ได้รับจากต้น ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในก้านดอกจะถูกไปใช้เเรื่อยๆ เมื่ออาหารหมดดอกก็ร่วงโรยไป โดยน้ำตาลที่นำมาใช้มีสองประเภท คือน้ำตาลเมตาบอลิลิค ( metabolic  sugar )เช่นซูโครส ฟรุกโตส กลูโคส แลกโตสและมอลโตส เป็นต้นน้ำตาลในกลุ่มนี้นิยมใช้มากที่สุด คือ ซูโครส เพราะหายซื้อได้ง่าย ราคาถูก และใช้ได้ผลดี เนื่องจากน้ำตาลซูโครสเคลื่อนที่ในท่อลำเลียงได้เร็วกว่ากูสโคสและฟรุกโตส( ช ณิฏฐ์ศิริ  2526 ) เมื่อซูโครสเคลือนไปถึงตัวดอกซูโครสจะเปลี่ยนเป็นกูลโคสและฟรุกโตสโดยปฏิกิริยากับเอนไซม์ซึ่งดอกไม้จะนำไปใช้ในกระบวนการหายใจต่อไปนี้ ( สายชล เกตุษา และ กิตติพงศ์ ดรียานนท์  2531 ) สำหรับควมเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสที่จะใช้ขึ้นอยู๋กับวัตถุประสงค์ของการใช้ดอกไม้ กล่าวคือในการใช้ pulsing bud opening มักจะใช้ความเข้มข้นที่แน่นอนมากกว่าการใช้ holding (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )น้ำตาลนอนเม

งาน1

2.3 การสร้างเอทธิลีน
เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืช ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแก่ในส่วนต่างๆของพืช ก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้เกิดความผิดปกติแก่ดอกไม้สดหลายชนิดซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานหรืออายุการเก็บรักษาดอกไม้ ดอกไม้แต่ละชนิดตอบสนองต่อ เอทธิลีนในระดับที่ต่างกัน ทำให้แบ่งดอกไไม้ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการสร้างเอทธิลีนของดอกไม้ประเภท  climacteric และ non- climacteric  การผลิตเอทธิลีนของดอกไม้พวก climacteric จะมี 3 ระยะคือ การหายใจระยะแรกเมื่อดอกเริ่มบาย จะมีการผลลิตเอทธิลีนจะลดลง( ช. ณิฎฐศิริ สุยสุวรรณ 2526 ) เช่น ลิ้นมังกร และคาร์เนชั่น วึ่งมีความอ่อนแอต่อเอทธิลีนต่อเอทธิลีนแม้ว่าจะได้รับเอทธิลีนมาก่อนที่ดอกจะเข้าสู่ระยะเสื่อมสภาพ ( สายชล เกตุษา 2528)  Lin et al. (2001)พบว่าการให้เอทธิลีนจากภายนอกกับพันธุ์ Grand Gala  และพันธุ์  Goldel Model เพียง 0.1 - 2 ส่วนต้นล้านส่วน มีผลในการเพิ่มการบานของดอก และทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
Hcins ( 1980 ) พบว่าเอทานอสสามารถยับยั้งการสังเคราะห์ก๊าซเอทธิลีนในดอกไม้โดยมีความสัมพันธ์กับก๊าซออกซิเจน กล่าวคือ การขาดออกซิเจนนำไปสู่การสะสมแอทนอลความสมดุลของน้ำ  คือ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักของน้ำที่ดอกไม้ดูดเข้าไปกับน้ำที่คายออกมากลังจากตัดดอกไม้มาใหม่ๆการคายน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะปากใบปิด (Mayak and Halevy 1974 ) แป้งหอม ( 2527 ) ศึกษาการใช้เอทธานอลที่ระดับความเข้มข้น  o, 1.0,2.0,3.0,และ 4.0 % ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 0 และ 5.0 % ในน้ำกลั่นซึ่งปรับ pH  ด้วยกรดซิตริกให้เป็น 4 เป็นสารละลายในการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดง และสีชมพู  ที่ห้องปรับอุณหภูมิเฉลี่ย 23.8 ซผลปรากฎว่สในสารละลายเอทธานอล 3.0% ร่วมกับน้ำตาลโซโครส 5.0 %  ทำให้ดอกกกุหลาบทั้งสองพันธ์มีอายุการปักแจกันนานที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกุหลาบดอกเพีงเล็กน้อย การไหม้ของกลีบดอกเพีงเล็กน้อยและการเหี่ยวช้าลงที่สุด และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดก้านดอกโค้งงอน้อยที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันที่ไม่มีเอทธานอลและน้ำตาลซูโครสมีการเปลียนแปลงสีของกลีบดอกมากกว่าและมีเปอร์เซ็นต์การเกิดคอดอกโค้งสูงที่สุด
ลักษณะอาการที่ผิดปกติที่พบดอกไม้สด อันเป็นผลเสียหายเนื่องมาจากเอทธิลีนได้แก่อาาการกลีบดอกม้วนงอเข้า หรือเรียกว่า sleepiness ซึ่งพบในดอกคาร์เนชชั่นและกุหลาบหินลักษณะดอกมีสีซีดและม้วนงอข้าวของดอกผักบุ้งฝรั่งการเหี่ยวและสีซีดของปาก (lip) และการร่วงของดอกและกลีบกล้วยไม้ เป็นต้น
นอกจากนี้เอทธิลีนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเอมไซม์ หรืออาจทำให้โครงสร้างทางกายภาพของเซลล์เปลียนไป โดยมีผลต่่อการผ่านเข้าออกสารต่างๆที่บริเวณเยื่อหุ้มแวคิวโอล ( tonoplast ) และส่งเสริมการรั่วไหลของสารจากแวคิวโอล ( cytoplasm ) และมีอิทธิพลต่อการทำงานของเอมไซม์ protease ในรังไข่ของดอกกุหลาบทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ชนิดนี้ในรังไข่ลดลง Halevy and  Mayak (1981) พบว่าเอทธิลีนสามารถเร่งให้กลีบดอกเหี่ยวเร็วขึ้นโดยกระตุ้นให้มีความเคลื่อนที่คาร์โบไฮเดรตจากกลีบดอกและก้านดอกไปสู่รังไข่ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรังไข่และกลีบดอก เมื่อปลิดกลีบดอกออก พบว่ามีการเจริญของรังไข่ดีข้น นอกจาดนี้เอทธีลีนอาจจะเกิดบาดแผลหรือโรคที่ติดมาซึ่งจัดเป็นเอทธิลีนที่เกิดในสภวะเครียด
3. การปฏิบัติหลังการตัดดอก
การปฏิบัติต่อดอกไม้ในคณะที่ตัดดอกและหลังการตัดดอก มีผลต่อคุณภาพดดอกไม้และการรักษาดอกไม้ให้ห้องคงสภาพสวยงามอยู่ได้เป็นระยะเวลานานนั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่ออุสาหกรรมไม้ตัดดอก ทั้งนี้เนื่องจากดอกไม้สดที่ตัดมาจากต้นไม้ภายหลังการตัดดอกจึงมีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกไม้ก่อนตัดไว้ การปฏิบัติหลังการตัดดอกยังรวมถึงตัดขน่ด และคุณภาพ กรบบรจุหีบห่อเพื่อขนส่ง  ตลอดจนการเก็บรักษา ( Reid 1985 ) รวมถึงการใช้สราเคมีเพื่อเพิ่มคุณภาพหรือยืดอายุ การใช้ดอกไม้เหล่านี้ (นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 )
3.1การใช้สารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพและยืืดอายุการใช้งาน
            สารละลายเคมีใช้แช่ดอกไม้มีหลายอย่าง ได้แก่ น้ำ สารอาหาร ( น้ำตาล ) สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และสารระงับการสังเคราะห์และการทำงานของเอทธิลีน ( นิธิยา  รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุญยเกียรติ 2536 ) ซึ่งสารเหล่านี้มีหน้าที่และคุณสมบัติดังนี้
3.1.1 น้ำ  เป็นสารประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารละลายที่ใช้ยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ เนื่องจาดน้ำทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำำคัญของเซลล์พืช มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการต่างๆทางชีวเคมีและสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การคายน้ำ และอื่นๆ เป็นต้น น้ำที่ใช้แช่ดอกไม้นั้น พบว่น้ำกลั่น และน้ำที่ปราาศจากประจุ หรือน้ำที่แยกเอาประจุออกไปแล้วจะใช้ได้ดีกว่าการใช้น้ำประปา เนื่องจากน้ำที่ปราศจากประจุจะช่วยให้สารเคมีละลายได้ดีกว่ากัน และไม่มีสิ่งที่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีปนอยู่ สารเคมีที่ใช้จึงมีประสิทธิภาพดี ส่วนน้ำประปามักจะมีคลอรีนปนอยู่ ซึ่งสารเคมีบางชนิดจะทำปฏิกิริยากับคลอรีนเกิดเป็นตะกอน เช่น ซิลเวอร์ไนเตรท ทำให้ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไนเตรททดลองนอกจากนี้ยังมีประจุบางชนิด เช่น ฟลูออไรด์ ซึ่งดอกไม้บางชนิดจะอ่อนแอต่อฟลูออไรด์ ทำให้เป็นพิษกับดอกไม้ เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ และเบญจมาศ เป็นต้น น้ำที่มีปริมาณของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ ( TDS ) หรือปริมาณเกลือ ( ความเค็ม ) ในน้ำ จะมีผลต่อร่วงโรยของดอกไม้ในน้ำด้วย( ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )

งาน

2.การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมจะมีผลต่อสุขภาพ และอายุการใช้งานของดอกไม้นอกเหนือจากการดูแลรักษาดอกไม้ให้สมบูรณ์เพื่อคุณภาพดอกไม้ก่อนตัดด ซึ่งขั้นตอนหลังการเกก็บเกี่ยวของผลผลิตสดทั่วไปนั้นจะเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสมการคัดขนาด  การบบรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่งโดยขั้นตอนต่างๆจะช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้นานที่สุดจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วดอกกุหลาบหลังจากที่ตัดมาจากต้นมักเสียคุณภาพเร็ว และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าดอกกุหลาบที่มีอายุเท่ากันที่บานอยู่บนต้น  ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 ) เนื่องจากถูกตัดออกจากต้นจะขาดแหล่งอาหาร น้ำ และแราธาตุที่เคยได้รับจากธรรมชาติเมื่ออยู่บนต้นเดิม แต่ดอกไม้ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่นเดียวกันกับขณะที่ยังอยู่บนต้นเดิม เช่น การหายใจ การสร้างเอทธิลีน และการคายน้ำ การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ของดอกกุหลาบมีผลกระทบต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกุหลาบด้วย  ( สายชล  เกตุษา  2528 )
2.1การหายใจ
การหายใจของดอกไม้หลังจากการถูกตัดขาดจากต้นแม่ ยังดำเนินไปต่อเนื่อง ( Nichols 1957 ) ในขณะที่ปริมาณอาหารที่ใช้ในการหายใจยังมีอยู่อย่างจำกัด การหายใจจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่สะสมภายในดอกไม้และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกด้วย เช่น ชนิดอายุของดอกไม้บาดแผล สภาพแวดล้อม ตลอดจนสารเคมีบางชนิด ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 )  รวมทั้งระยะการบานของดอกด้วยโดยอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อดอกบานและค่อยๆๆลดลงเมื่อดอกเหี่ยวหรือเสือมสภาพ ( นิธิยา รัตนปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 ) แต่ก่อนที่จะเสื่อมสภาพนั้น พบว่ามีการหายใจเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการหารใจเพิ่มสูงขึ้นแล้วดอกไม้จะเข้าสู่การเสื่อมสภาพเช่นเดียวกับผลไม้ทั่วไปกระบวนการหายใจที่เพิ่มขึ้นนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในต่างๆทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในขณะที่เกิดการเสือมสภาพนี้อาหารสำรองจะลดลงเรื่อยๆจึงได้มีการศึกษาการยืดอายุการใช้งานของดอกไม้ในช่วงนี้กันมาก Mayak and Halevy ( 1980 ) กล่าวว่าการเพิ่มน้ำตาลจากภายนอกสามารถส่งเสริมน้ำหนักแห้ง และอาหารสำรองของกลีบดอกเิ่มขึ้น ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ในขณะที่น้ำตาลแห้ง การสร้า ATP จะลดลงกระบวนการเสื่อมสภาพนั้นถูกควบคุมโดยปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่ง ( reducing  sugar ) อนุพันธ์ของไฮโดรไลส์แป้งและโพลีแซคาไรค์โมเลกุลใหญ่ ( Nichols R 1976 ) ปัจจัยที่ผลต่อการหายใจ ( สายชล  เกตุษา  2528 )
1. ชนิดของดอกไม้ ดอกไม้แต่ละดอกมีอัตราการหายใจไม่เท่ากัน และแต่พันธุ์มีอัตราการหายใจแตกต่างกันอีกด้วย
2.อายุของดอกไม้ ดอกไม้ที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าดอกไม้ที่มีอายุมากดอกไม้ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นอย่างเร็วรวด และหมดอย่างรวดเร็วเมื่อหมดอายุการใช้งาน
3.บาดแผล ดอกไม้ที่ได้รับบาดแผลจะทีอัตราการหารใจสูงขึ้นเป็นการหายใจที่เพิ่มขึ้น  เนื่องจากมีบาดแผล ( wound respiraton )
4. อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำยับยั่งการหายใจและอุณหภูมิเพิ่มการหายใจ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นหรือเกินอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการหายใจของดอกไม้ชนิดนั้นๆดอกไม้จะมีอัตราการหายใจลดลง เพราะอุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจ
5. ออกซิเจน บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 21 % จะยับยั่งการหายใจของดอกไม้ เพราะออกซิเจนมีความสำคัญของกระบวนการหายใจ โดยนำไปใช้ในการปฏิกิริยาการสลายตัวของน้ำตาลเพื่อให้ได้พลังงาน
6. คาร์บอนไดออกไซด์ บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 0.03 % จะยับยั้งการหายใจของดอกไม้
7. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชมีทั้งการยับยั้งการเพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น 6 - benzylamino purine (BA) และกลุ่มที่เพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น เอทธิลีน และกรดแอบซิสซิก เป็นต้น
8. สารอื่นๆเป็นสารเคมีเป็นสารเคมีที่ไม่ใช่สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช แต่สามารถยับยั้งการหายใจ แต่จุดประสงค์หลักในการใช้สาร คือ ลดประชากรจุลินทรีย์ในน้ำที่ใช้แช่หรือปักแจกัน เช่น 8 - hydroxyquinoline ในรูปของเกลือซิเตรทหรือซัลเฟต
2.2 การเปลี่ยนสีของกลีบ
การเปลียนแปลงสีของกลีบดอกไม้เกิดเมื่อมีอายุมากขึ้น มีรงควัตถุ 2 ชนิดที่เกี่ยวข้อง คือ แคโรทีนอยด์ ( carotenoid )และ แอนโทไซยานิน (  anthocyanin  ) โดยการเปลี่ยนแปลงของกลีบดอกเกิดเนื่องจากการสูญเสียสมดุลของน้ำ ทำให้กลีบดอกกุหลาบเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินม่วง ( blueing ) ( สายชล  เกตุษา  2528 ) Halevy and Mayak ( 1981 )รายงานว่าเกิดการ blueing เกิดจากการสูณเสียของน้ำทำให้เกิดการสลายตัวของโปรตีน ( proteolysis ) ส่งผลให้เกิดการสะสมแอมโมเนีย ( NH 3) ในส่วนของแวคิวโอล( vacuole )มากขึ้นเมื่อระดับความเป็นกรด -ด่าง ใน cell sap และแวคิวโอลเพิ่มขึ้น ความเป็นกรดจะลดลงจนสภาพเป็นด่าง ทำให้รงควัตถุแดงไม่คงตัวในสภาพเป็นด่างจึงเป็นสีน้ำเงิน ส่งผลให้กลีบดอกกุหลาบสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินม่วงการใช้อุณหภูมิต่ำ และสารเคมีบางอย่างสามารถป้องกันการเปลี่ยนสีของกลีบดอกไม้ได้( สายชล  เกตุษา  2528 )

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ตรุษจีน 55.





ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในเทศกาลวันปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้วกับการฉลอง วันปีใหม่จีน หรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีน
          ตรุษจีน นั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลอง ตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
          วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้น มากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้าย ให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
          เมื่อถึง วันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อคำอวยพรวันปีใหม่กล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน โดยส่วนใหญ่คำอวยพรวันปีใหม่จะพูดว่า "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ" ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ใน วันตรุษ นี้อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลอง วันตรุษจีน สิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลอง วันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
ตำนานความเป็นมาของวันตรุษจีน
ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย
ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกันเมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดังและไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก
 เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน

วันตรุษจีน
อาหารไหว้เจ้า ของไหว้ตรุษจีน
     ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็นมงคลในตัวของมัน

ความหมายของ ของไหว้วันตรุษจีน
เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
ถั่วตัด  - หมายถึง แท่งเงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข
เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่ง เป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์
ของไหว้ตรุษจีน ขนมไหว้วันตรุษจีน
    1.ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
    2.ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
    3.ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต
    4.ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
    5.ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู
    6.ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค
    7.จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
         
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้
"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้"
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

     วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว

     วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย วิธีไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ แนะนำวิธีไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่ถูกต้องเคล็ดลับพิธีกรรมเรื่องราวความเป็นมา ในโอกาสใกล้จะถึงวันตรุษจีน >>>ประวัติไฉ่ซิ้งเอี้ย

ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว

ตอนบ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล

     วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
วันตรุษจีน
        วันตรุษจีน ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัยและคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา วันตรุษจีน ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
วันตรุษจีน ถ้าหากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่หรือ วันตรุษจีน คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาดใน วันตรุษจีน เราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วง เทศกาลวันตรุษจีน นี้สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีน กับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับ คนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบใน วันตรุษจีน และคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนใน วันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรใน วันตรุษจีน เพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคง ยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียมและวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็นครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน วันตรุษจีน 2555

วันกองทัพไทย




วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม

วันครู




ความหมายของครู

          ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู

          ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

          ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง


วันครู

ประวัติความเป็นมา

          วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

          จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

          คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

          งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ


วันครู


บทสวดเคารพครู

          (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

          ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)

          (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์

          โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

          ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

          ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

          จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน

          เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

          ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม

          กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ

          คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

          ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

          (กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
 
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู

          การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

          1. กิจกรรมทางศาสนา

          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

         
          ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

          รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

          หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ

 คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

          ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม


มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู           1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

          3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

          4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

          5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

          6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

          7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

          8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

          9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

          10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
 
รายชื่อประเทศที่มี วันครู

ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด

          - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
          - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
          - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด

          - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
          - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
          - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
          - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
          - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
          - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
          - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
          - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
          - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
          - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
          - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
          - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน
         
ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

วันเด็ก 55




ประวัติวันเด็ก แห่งชาติ ย้อนไป พ.ศ.2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความ ตื่นตัวและเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็กๆ
ของตนมากขึ้น การขานรับเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น
โดยกำหนดกันว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ  สำหรับประเทศไทย รับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี
ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่าไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ
ิเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาตินำเรื่องเข้าสู่ ที่ประชุม
ในที่สุดที่ได้รับมติเห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในต่อมาวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2498คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น
มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ รับไปดำเนินการส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
3 ตุลาคม พ.ศ.2498 คือวันเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมาราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี
เป็นวันเด็กแห่งชาติ จัดติดต่อกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงาน
วันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่าเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กๆไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน
นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไป ร่วมงานได้ ทั้งการจราจรก็ติดขัดจึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือน มกราคม
เสียทุกสิ่งทุกอย่าง ได้สะดวกสบายขึ้นและมีความเหมาะสมมากกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา
ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ด้วยเหตุนี้ปี 2507
จึงไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก
และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดีและเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิของเด็ก คำขวัญวันเด็ก
เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก
จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็ก ปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วันกาชาดไทย 7 ม.ค. 55
















สภากาชาดไทย (หรือเดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดง) ก่อตั้งเมื่อ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) จึงถือเป็น วันสถาปนาสภากาชาดไทย

  เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) เกิดกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศส กรณีดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และรุนแรงขึ้นจนปะทะกัน มีทหารบาดเจ็บล้มตายมาก ขณะนั้นยังไม่มีองค์กรการกุศลเพื่อช่วยเหลือพยาบาลบรรเทาทุกข์ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงชักชวนรวบรวมสตรีอาสาสมัคร และทำบันทึกกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เพื่อดำเนินการ บรรเทาทุกข์ทหารผู้บาดเจ็บ
เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่าเป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างอารยประเทศผู้เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์และพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง และให้เรี่ยไรได้เงินถึง 443,716 บาท (นับเป็นเงินมหาศาลในสมัยนั้น) กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี ทรงเป็นสภาชนนี, สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง) ทรงเป็นสภานายิกา และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณี
  ถือกันว่าท่านผู้หญิงเปลี่ยน เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกิจการกาชาดในสยาม นับว่าท่านเป็นสตรีที่มีความคิดริเริ่มทันสมัยและมีความสามารถอย่างยิ่ง

  ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งพระยุพราช) ขณะเสด็จกลับจากศึกษาในประเทศอังกฤษผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่น ได้เสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลของกาชาดญี่ปุ่น ทรงพระดำริว่าถ้ามีโรงพยาบาลของกาชาดขึ้นในเมืองไทยจะเป็นประโยชน์มาก ภายหลังพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงทรงร่วมกับ พระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์ รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธยในพระราชบิดาเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  และให้สังกัดสภากาชาดสยามเมื่อ พ.ศ.2457 ในขณะนั้น

  ชื่อ สภาอุณาโลมแดง และ สภากาชาด เรียกปะปนกันตลอดมา เมื่อ พ.ศ.2453 ชื่อเดิมก็สูญไป คงใช้กันแต่ สภากาชาดสยาม หรือ สภากาชาดไทย (ตามการเปลี่ยนชื่อประเทศ)

  คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้รับรอง สภากาชาดไทย เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2463
  ส่วน สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (เดิมคือ สันนิบาตสภากาชาด) รับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อ 8 เมษายน พ.ศ.2464

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ปีใหม่ 2555


วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
วันปีใหม่ 2555
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึง วันที่ 1 มกราคม เช่น เคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปีหรือ วันที่ 31 ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง มหรสพ และในตอนเช้า วันที่ 1 มกราคม ก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดหรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตรหรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
***********************************************************************************

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

วันรัฐธรรมนูญ



 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก parliament.go.th
          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

          
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

          
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

          
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

          
รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

          
พระมหากษัตริย์
           
          
สภาผู้แทนราษฎร
           
          
คณะกรรมการราษฎร
           
          
ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
          1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

          2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  
          3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
   
          4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
   
          5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

          6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
 
          7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

          8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
  
          10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

          11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
   
          12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
  
          13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  
          14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
  
          15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
   
          16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  
          17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
   
          18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอ
           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          
คำปรารภ
   
          
หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
   
          
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
   
          
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
   
          
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
   
          
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
   
          
หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
   
          
หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
   
          
หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
   
          
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
   
          
หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
   
          
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
  
          
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
   
          
หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
   
          
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

          
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
   
          
บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)

วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ