วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งาน1

2.3 การสร้างเอทธิลีน
เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืช ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแก่ในส่วนต่างๆของพืช ก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้เกิดความผิดปกติแก่ดอกไม้สดหลายชนิดซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานหรืออายุการเก็บรักษาดอกไม้ ดอกไม้แต่ละชนิดตอบสนองต่อ เอทธิลีนในระดับที่ต่างกัน ทำให้แบ่งดอกไไม้ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการสร้างเอทธิลีนของดอกไม้ประเภท  climacteric และ non- climacteric  การผลิตเอทธิลีนของดอกไม้พวก climacteric จะมี 3 ระยะคือ การหายใจระยะแรกเมื่อดอกเริ่มบาย จะมีการผลลิตเอทธิลีนจะลดลง( ช. ณิฎฐศิริ สุยสุวรรณ 2526 ) เช่น ลิ้นมังกร และคาร์เนชั่น วึ่งมีความอ่อนแอต่อเอทธิลีนต่อเอทธิลีนแม้ว่าจะได้รับเอทธิลีนมาก่อนที่ดอกจะเข้าสู่ระยะเสื่อมสภาพ ( สายชล เกตุษา 2528)  Lin et al. (2001)พบว่าการให้เอทธิลีนจากภายนอกกับพันธุ์ Grand Gala  และพันธุ์  Goldel Model เพียง 0.1 - 2 ส่วนต้นล้านส่วน มีผลในการเพิ่มการบานของดอก และทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
Hcins ( 1980 ) พบว่าเอทานอสสามารถยับยั้งการสังเคราะห์ก๊าซเอทธิลีนในดอกไม้โดยมีความสัมพันธ์กับก๊าซออกซิเจน กล่าวคือ การขาดออกซิเจนนำไปสู่การสะสมแอทนอลความสมดุลของน้ำ  คือ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักของน้ำที่ดอกไม้ดูดเข้าไปกับน้ำที่คายออกมากลังจากตัดดอกไม้มาใหม่ๆการคายน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะปากใบปิด (Mayak and Halevy 1974 ) แป้งหอม ( 2527 ) ศึกษาการใช้เอทธานอลที่ระดับความเข้มข้น  o, 1.0,2.0,3.0,และ 4.0 % ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 0 และ 5.0 % ในน้ำกลั่นซึ่งปรับ pH  ด้วยกรดซิตริกให้เป็น 4 เป็นสารละลายในการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดง และสีชมพู  ที่ห้องปรับอุณหภูมิเฉลี่ย 23.8 ซผลปรากฎว่สในสารละลายเอทธานอล 3.0% ร่วมกับน้ำตาลโซโครส 5.0 %  ทำให้ดอกกกุหลาบทั้งสองพันธ์มีอายุการปักแจกันนานที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกุหลาบดอกเพีงเล็กน้อย การไหม้ของกลีบดอกเพีงเล็กน้อยและการเหี่ยวช้าลงที่สุด และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดก้านดอกโค้งงอน้อยที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันที่ไม่มีเอทธานอลและน้ำตาลซูโครสมีการเปลียนแปลงสีของกลีบดอกมากกว่าและมีเปอร์เซ็นต์การเกิดคอดอกโค้งสูงที่สุด
ลักษณะอาการที่ผิดปกติที่พบดอกไม้สด อันเป็นผลเสียหายเนื่องมาจากเอทธิลีนได้แก่อาาการกลีบดอกม้วนงอเข้า หรือเรียกว่า sleepiness ซึ่งพบในดอกคาร์เนชชั่นและกุหลาบหินลักษณะดอกมีสีซีดและม้วนงอข้าวของดอกผักบุ้งฝรั่งการเหี่ยวและสีซีดของปาก (lip) และการร่วงของดอกและกลีบกล้วยไม้ เป็นต้น
นอกจากนี้เอทธิลีนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเอมไซม์ หรืออาจทำให้โครงสร้างทางกายภาพของเซลล์เปลียนไป โดยมีผลต่่อการผ่านเข้าออกสารต่างๆที่บริเวณเยื่อหุ้มแวคิวโอล ( tonoplast ) และส่งเสริมการรั่วไหลของสารจากแวคิวโอล ( cytoplasm ) และมีอิทธิพลต่อการทำงานของเอมไซม์ protease ในรังไข่ของดอกกุหลาบทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ชนิดนี้ในรังไข่ลดลง Halevy and  Mayak (1981) พบว่าเอทธิลีนสามารถเร่งให้กลีบดอกเหี่ยวเร็วขึ้นโดยกระตุ้นให้มีความเคลื่อนที่คาร์โบไฮเดรตจากกลีบดอกและก้านดอกไปสู่รังไข่ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรังไข่และกลีบดอก เมื่อปลิดกลีบดอกออก พบว่ามีการเจริญของรังไข่ดีข้น นอกจาดนี้เอทธีลีนอาจจะเกิดบาดแผลหรือโรคที่ติดมาซึ่งจัดเป็นเอทธิลีนที่เกิดในสภวะเครียด
3. การปฏิบัติหลังการตัดดอก
การปฏิบัติต่อดอกไม้ในคณะที่ตัดดอกและหลังการตัดดอก มีผลต่อคุณภาพดดอกไม้และการรักษาดอกไม้ให้ห้องคงสภาพสวยงามอยู่ได้เป็นระยะเวลานานนั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่ออุสาหกรรมไม้ตัดดอก ทั้งนี้เนื่องจากดอกไม้สดที่ตัดมาจากต้นไม้ภายหลังการตัดดอกจึงมีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกไม้ก่อนตัดไว้ การปฏิบัติหลังการตัดดอกยังรวมถึงตัดขน่ด และคุณภาพ กรบบรจุหีบห่อเพื่อขนส่ง  ตลอดจนการเก็บรักษา ( Reid 1985 ) รวมถึงการใช้สราเคมีเพื่อเพิ่มคุณภาพหรือยืดอายุ การใช้ดอกไม้เหล่านี้ (นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 )
3.1การใช้สารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพและยืืดอายุการใช้งาน
            สารละลายเคมีใช้แช่ดอกไม้มีหลายอย่าง ได้แก่ น้ำ สารอาหาร ( น้ำตาล ) สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และสารระงับการสังเคราะห์และการทำงานของเอทธิลีน ( นิธิยา  รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุญยเกียรติ 2536 ) ซึ่งสารเหล่านี้มีหน้าที่และคุณสมบัติดังนี้
3.1.1 น้ำ  เป็นสารประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารละลายที่ใช้ยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ เนื่องจาดน้ำทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำำคัญของเซลล์พืช มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการต่างๆทางชีวเคมีและสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การคายน้ำ และอื่นๆ เป็นต้น น้ำที่ใช้แช่ดอกไม้นั้น พบว่น้ำกลั่น และน้ำที่ปราาศจากประจุ หรือน้ำที่แยกเอาประจุออกไปแล้วจะใช้ได้ดีกว่าการใช้น้ำประปา เนื่องจากน้ำที่ปราศจากประจุจะช่วยให้สารเคมีละลายได้ดีกว่ากัน และไม่มีสิ่งที่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีปนอยู่ สารเคมีที่ใช้จึงมีประสิทธิภาพดี ส่วนน้ำประปามักจะมีคลอรีนปนอยู่ ซึ่งสารเคมีบางชนิดจะทำปฏิกิริยากับคลอรีนเกิดเป็นตะกอน เช่น ซิลเวอร์ไนเตรท ทำให้ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไนเตรททดลองนอกจากนี้ยังมีประจุบางชนิด เช่น ฟลูออไรด์ ซึ่งดอกไม้บางชนิดจะอ่อนแอต่อฟลูออไรด์ ทำให้เป็นพิษกับดอกไม้ เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ และเบญจมาศ เป็นต้น น้ำที่มีปริมาณของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ ( TDS ) หรือปริมาณเกลือ ( ความเค็ม ) ในน้ำ จะมีผลต่อร่วงโรยของดอกไม้ในน้ำด้วย( ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น