วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งาน 2

พล และสายชล ( 2532 ) ศึกษาคุณภาพของชนิดน้ำต่างๆที่มีผลต่ออายุการปักแจกันดอกกุหลาบ พบว่าการปรับความเป็น กรด - ด่าง ของน้ำที่ใช้ปักแจกันให้มีสภาพเป็นกรด  โดยใช้กรดซิตริกมีแนวโน้มทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันนานขึ้น โดยที่ความเป็นกรด - ด่างเป็น 4 ในน้ำที่ปราศจากประจุและน้ำกลั่นให้อายุปักแจกันนานที่สุด เนื่องจากน้ำแหล่งต่างๆมักมีอนุภาคบางอย่างละลายอยู่หรือมีอนุภาคบางชนิดแขวนลอยอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น น้ำบาลดามีแคลเซียมคาร์บอเนท ละลายอยู่มาก ทำให้มีการอุดตันในระบบท่อลำเลี้ยงน้ำได้ง่าย
          น้ำจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำกลั่น น้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา มีคุณภาพแตกต่างกันืเมื่อใช้น้ำแหล่งต่างๆเหล่านี้เตรียมน้ำยาประสิทธิภาพของสารละลายเคมีต่างๆในการปักแจกัน การทำพัลซิ่ง ( plusing ) และการเร่งการบานของดอกจะแตกต่างกันด้วย น้ำกลั่นสามารถยืดอายุการปักแจกันดอกไม้ และเพิ่มประสิทธิภาพของสารที่ใช้ยืดอายุการใช้งานดอกไม้ได้ดีเพราะช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำ ลดอัตราการโค้งงอของดอก และเพิ่มอัตราการดูดน้ำ
        นอกจากนี้มีรายงานว่าถ้าในน้ำมีปริมาณ TDS 200 ส่วนต่อล้านส่วน จะทำให้ดอกกุหลาบ เบญมาศและคาร์เนชั่น มีอายุการใช้งานสั้นลง เช่นเดียวกันถ้ามีปริมาณเกลือในน้ำ 100 ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้อายุการใช้งานของดอกไม้ลดลงไปด้วย เช่น การเติมกรดอินทรีย์บางชนิดเพื่อปรับความเป็น กรด - ด่าง ให้ได้ประมาณ 3 -4 เพราะจะทำให้อัตราการไหลของน้ำในก้านดอกเพิ่มขึ้นและทำให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำเป็นไปอย่างช้าๆ (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )
3.1.2 น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัยของดอกไม้ เพราะดอกไม้ใช้น้ำตาลในกระบวนการการหายใจและพลังงาน ATP ซึ่งดอกไม้นำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ( สายชล เกตุษา 2531) ดอกไม้เมื่อตัดออกจากต้นแล้วดอกไม้จะขาดอาหารที่ได้รับจากต้น ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในก้านดอกจะถูกไปใช้เเรื่อยๆ เมื่ออาหารหมดดอกก็ร่วงโรยไป โดยน้ำตาลที่นำมาใช้มีสองประเภท คือน้ำตาลเมตาบอลิลิค ( metabolic  sugar )เช่นซูโครส ฟรุกโตส กลูโคส แลกโตสและมอลโตส เป็นต้นน้ำตาลในกลุ่มนี้นิยมใช้มากที่สุด คือ ซูโครส เพราะหายซื้อได้ง่าย ราคาถูก และใช้ได้ผลดี เนื่องจากน้ำตาลซูโครสเคลื่อนที่ในท่อลำเลียงได้เร็วกว่ากูสโคสและฟรุกโตส( ช ณิฏฐ์ศิริ  2526 ) เมื่อซูโครสเคลือนไปถึงตัวดอกซูโครสจะเปลี่ยนเป็นกูลโคสและฟรุกโตสโดยปฏิกิริยากับเอนไซม์ซึ่งดอกไม้จะนำไปใช้ในกระบวนการหายใจต่อไปนี้ ( สายชล เกตุษา และ กิตติพงศ์ ดรียานนท์  2531 ) สำหรับควมเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสที่จะใช้ขึ้นอยู๋กับวัตถุประสงค์ของการใช้ดอกไม้ กล่าวคือในการใช้ pulsing bud opening มักจะใช้ความเข้มข้นที่แน่นอนมากกว่าการใช้ holding (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )น้ำตาลนอนเม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น