วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งาน

2.การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมจะมีผลต่อสุขภาพ และอายุการใช้งานของดอกไม้นอกเหนือจากการดูแลรักษาดอกไม้ให้สมบูรณ์เพื่อคุณภาพดอกไม้ก่อนตัดด ซึ่งขั้นตอนหลังการเกก็บเกี่ยวของผลผลิตสดทั่วไปนั้นจะเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสมการคัดขนาด  การบบรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่งโดยขั้นตอนต่างๆจะช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้นานที่สุดจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วดอกกุหลาบหลังจากที่ตัดมาจากต้นมักเสียคุณภาพเร็ว และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าดอกกุหลาบที่มีอายุเท่ากันที่บานอยู่บนต้น  ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 ) เนื่องจากถูกตัดออกจากต้นจะขาดแหล่งอาหาร น้ำ และแราธาตุที่เคยได้รับจากธรรมชาติเมื่ออยู่บนต้นเดิม แต่ดอกไม้ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่นเดียวกันกับขณะที่ยังอยู่บนต้นเดิม เช่น การหายใจ การสร้างเอทธิลีน และการคายน้ำ การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ของดอกกุหลาบมีผลกระทบต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกุหลาบด้วย  ( สายชล  เกตุษา  2528 )
2.1การหายใจ
การหายใจของดอกไม้หลังจากการถูกตัดขาดจากต้นแม่ ยังดำเนินไปต่อเนื่อง ( Nichols 1957 ) ในขณะที่ปริมาณอาหารที่ใช้ในการหายใจยังมีอยู่อย่างจำกัด การหายใจจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่สะสมภายในดอกไม้และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกด้วย เช่น ชนิดอายุของดอกไม้บาดแผล สภาพแวดล้อม ตลอดจนสารเคมีบางชนิด ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 )  รวมทั้งระยะการบานของดอกด้วยโดยอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อดอกบานและค่อยๆๆลดลงเมื่อดอกเหี่ยวหรือเสือมสภาพ ( นิธิยา รัตนปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 ) แต่ก่อนที่จะเสื่อมสภาพนั้น พบว่ามีการหายใจเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการหารใจเพิ่มสูงขึ้นแล้วดอกไม้จะเข้าสู่การเสื่อมสภาพเช่นเดียวกับผลไม้ทั่วไปกระบวนการหายใจที่เพิ่มขึ้นนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในต่างๆทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในขณะที่เกิดการเสือมสภาพนี้อาหารสำรองจะลดลงเรื่อยๆจึงได้มีการศึกษาการยืดอายุการใช้งานของดอกไม้ในช่วงนี้กันมาก Mayak and Halevy ( 1980 ) กล่าวว่าการเพิ่มน้ำตาลจากภายนอกสามารถส่งเสริมน้ำหนักแห้ง และอาหารสำรองของกลีบดอกเิ่มขึ้น ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ในขณะที่น้ำตาลแห้ง การสร้า ATP จะลดลงกระบวนการเสื่อมสภาพนั้นถูกควบคุมโดยปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่ง ( reducing  sugar ) อนุพันธ์ของไฮโดรไลส์แป้งและโพลีแซคาไรค์โมเลกุลใหญ่ ( Nichols R 1976 ) ปัจจัยที่ผลต่อการหายใจ ( สายชล  เกตุษา  2528 )
1. ชนิดของดอกไม้ ดอกไม้แต่ละดอกมีอัตราการหายใจไม่เท่ากัน และแต่พันธุ์มีอัตราการหายใจแตกต่างกันอีกด้วย
2.อายุของดอกไม้ ดอกไม้ที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าดอกไม้ที่มีอายุมากดอกไม้ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นอย่างเร็วรวด และหมดอย่างรวดเร็วเมื่อหมดอายุการใช้งาน
3.บาดแผล ดอกไม้ที่ได้รับบาดแผลจะทีอัตราการหารใจสูงขึ้นเป็นการหายใจที่เพิ่มขึ้น  เนื่องจากมีบาดแผล ( wound respiraton )
4. อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำยับยั่งการหายใจและอุณหภูมิเพิ่มการหายใจ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นหรือเกินอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการหายใจของดอกไม้ชนิดนั้นๆดอกไม้จะมีอัตราการหายใจลดลง เพราะอุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจ
5. ออกซิเจน บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 21 % จะยับยั่งการหายใจของดอกไม้ เพราะออกซิเจนมีความสำคัญของกระบวนการหายใจ โดยนำไปใช้ในการปฏิกิริยาการสลายตัวของน้ำตาลเพื่อให้ได้พลังงาน
6. คาร์บอนไดออกไซด์ บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 0.03 % จะยับยั้งการหายใจของดอกไม้
7. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชมีทั้งการยับยั้งการเพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น 6 - benzylamino purine (BA) และกลุ่มที่เพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น เอทธิลีน และกรดแอบซิสซิก เป็นต้น
8. สารอื่นๆเป็นสารเคมีเป็นสารเคมีที่ไม่ใช่สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช แต่สามารถยับยั้งการหายใจ แต่จุดประสงค์หลักในการใช้สาร คือ ลดประชากรจุลินทรีย์ในน้ำที่ใช้แช่หรือปักแจกัน เช่น 8 - hydroxyquinoline ในรูปของเกลือซิเตรทหรือซัลเฟต
2.2 การเปลี่ยนสีของกลีบ
การเปลียนแปลงสีของกลีบดอกไม้เกิดเมื่อมีอายุมากขึ้น มีรงควัตถุ 2 ชนิดที่เกี่ยวข้อง คือ แคโรทีนอยด์ ( carotenoid )และ แอนโทไซยานิน (  anthocyanin  ) โดยการเปลี่ยนแปลงของกลีบดอกเกิดเนื่องจากการสูญเสียสมดุลของน้ำ ทำให้กลีบดอกกุหลาบเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินม่วง ( blueing ) ( สายชล  เกตุษา  2528 ) Halevy and Mayak ( 1981 )รายงานว่าเกิดการ blueing เกิดจากการสูณเสียของน้ำทำให้เกิดการสลายตัวของโปรตีน ( proteolysis ) ส่งผลให้เกิดการสะสมแอมโมเนีย ( NH 3) ในส่วนของแวคิวโอล( vacuole )มากขึ้นเมื่อระดับความเป็นกรด -ด่าง ใน cell sap และแวคิวโอลเพิ่มขึ้น ความเป็นกรดจะลดลงจนสภาพเป็นด่าง ทำให้รงควัตถุแดงไม่คงตัวในสภาพเป็นด่างจึงเป็นสีน้ำเงิน ส่งผลให้กลีบดอกกุหลาบสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินม่วงการใช้อุณหภูมิต่ำ และสารเคมีบางอย่างสามารถป้องกันการเปลี่ยนสีของกลีบดอกไม้ได้( สายชล  เกตุษา  2528 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น