ตาบอลิค ( non-metabolic sugar ) เช่น แมนนิทอล และ แมนโนส ใช้ไม่ได้ผลบางครั้งยังเกิดอันตรายกับดอกไม้อีกด้วย
น้ำตาลนอกจากจะเป็นวแหล่งอาหารของดอกไม้แล้ว ยังมีบทบาทอื่นอีก คือ ช่วยปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ โดยรักษาโครงสร้างและหน้าที่ของไมโตคอนเดรีย ช่วยปรับสมดุลของน้ำลดลงและเพิ่มอัตราการดูดน้ำทำให้เซลล์ยังเต่งอยู่ ป้องกันการสลายตัวของโปรตีน ลดการสะสมของแอมโนเนีย และช่วยปรับความเป็นกรด-ด่างในกลีบดอก ทำให้ดอกกุหลาบเกิด blueing น้อยน้ำาตาลยังช่วยลดการละเหยของน้ำ ( nati - tranpiration ) โดยลดการเปิดปากใบ เพิ่มน้ำหนัก ป้องกันการเกิด proteolysis ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสีของกลีบ
นอกจากนี้สารละลายซูโครสความเข้มข้น 0.25% ยังสามารถลดการชะลอการเหี่ยวของใบกุหลาบตัดดอก ( Albert and Harper 1995 ) การทำ pulsing โดยใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำตาลซูโครส ร่วมกับ 8 - HQC 200 มิลลิกรัมต่อลิตร แช่ดอกกุหลาบบาน 10 ชั่วโมง สามารถยืดอายุการใช้งานและคุณภาพของดอกกุหลาบได้ การใช้สารละลายน้ำตาลซูโครส 10% ร่วมกับSTS 500ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้เนชั่นบานได้นานขึ้น Doi and Rei (1995) รายงานว่าการทำ pulsing โดยใช้น้ำยาส่วนผสมของ Physan เเละน้ำตาลโครส 100 กรัมต่อลิตร โดยใช้น้ำดีไอออไนซ์เป็นตัวทำละลายเเช่ดอกนาน 12 ชั่วโมง สามารถช่วยให้ดอก limoniym มีอายุการใช้งานดีขึ้น เเละลดการเสื่อมสภาพพร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน้ำเข้าสู็ดอกด้วย
ภัชรี (2537) ศึกษาผลของสารละลาย Physan ที่ระดับความเข้มข้น 150 ส่วนต่อล้านส่วน ร่วมกับน้ำตาลโครส 5.0% พบว่าสามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอกกุหลาบพันธุ์คริสเตียนดิออรื ไอเฟลทาวเออร์ เเยงกี้ เเละส้มเเดดได้ เพราะในสารละลายนี้มี Physan ซึ่งมีผลฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (Haievy and Mayak, 1981) ลกการอุดตันของก้านดอก น้ำจึงสามารถขึ้นไปสู่ก้่นดอกได้สะดวก ขณะเดียวกันมีน้ำตาลซูโครสช่วยลดการระเหยของน้ำ โดยการลดการเปิดปากใบ ช่วยให้ดอกกุหลาบไม่ขาดน้ำ ลดการสะสมของเเอมโมเนียที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของเม้ดสีให้กลีบดอก
3.1.3 สารควบคุมเชื้อจุลนทรีย์ เป็นสิ่งจำเป็นในสารละลายเคมีเเช่ดอกไม้ เพราะว่าในน้ำยาที่ใช็ดอกไม้มักจะมีเชื้อรา เเบคทีเรีย เเละยีนตื ปะปนอยู่ อาจทำให้เกิดการอุดตันของก้านดอกทำให้ก้านดอกดูดน้ำได้น้อยลง ส่งผลให้ดอกไม้เกิดการร่วงดรยได้เร็ว เเละมีอายุการปักเเจกันสั่นลง ทำให้เกิดการอุดตันเเละขัดขว้างการดูดน้ำของก้านดอก จึงยิยมเติมสารยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ลงไปในน้ำยาด้วย (ยุงยุทธ, 2540)
3.1.3.1 8-ไฮดรอกซีควิโนลีน (8-hydroxyquinoline ; 8-HQ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในรูปของเกลือซัลเฟต(HQS) เเละเกลือซิเตรท (HQC) Rogers (1973) รายงานว่า การใช็ที่ความเข้มข้น 200-600 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า HQS เเละ HQC เเละสามารถควบคุมการเจริญของเเบคทีเรียเเละเชื้อราในน้ำได้ สาร HQC สามารถรดการอุดตันของท่อลำเลียงได้ เนื่องจากทำหน้าที่เป็น chelating agent ในการจับกับโลหะ ได้เเก่ ได้เเก่ เหล็ก เเลละทองเเดง ซึ่งโลหะเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเนื้อเยื่อเเละทำให้เกิดการอุดตัน เมื่อโลหะถูกยึดไว้ เอนไซม์จึงทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงลดการอุดตันได้ Ichimura and Hisamatsu (1999) รายงานว่า การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำตาลโครส 50 กรัมต่อลิตร สามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอก Snapdragon นอกจากนี้การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 50-400มิลลิกรัมต่อลิตร เเละน้ำตาลซูโครส 5.0% สามารถช่วยลดการเกิด buieing การโค้งงอขอคอดอก เเละการอุดตันของท่อลำเลียงของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian Doir ทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ซึ่งเติม 8-HQS เเละ 8- HQC ลงไปในน้ำจะทำให้น้ำสภาพในเป็นกรด(pH ประมาณ 4) ทำให้จุลินทรีย์ ในน้ำเจริญเติบโตได้น้อย ช่วยรักษาสมดุลของน้ำเเละมีผลในการยับยั้งการสร้างเอทธิลีนในดอกคาร์เนชั่นด้วย ( Halevy and Mayak 1981 ) โสภิณ ( 2535 ) รายงานว่าการยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดงพันธุ์ " Christian Dior ) โดยสารละลาย เข้มข้น 0 200 300 400 ส่วนต่อล้านส่วน และ 8-hydroxyquinoline เข้มข้น 200 400 600 ส่วนต่อส่วนล้าน ทั้งที่มีและไม่มีน้ำตาล ซูโครส 10 % ในน้ำกลั่นที่ปรับ pH ให้เป็น 4 ด้วยกรดซตริในการปักแจกันที่ห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 23 องศา เซลล์เซียนความชื่นสัมพัทธ์ 70.25 % โดยเฉลี่ยปรากฎว่า ในดอกกุหลาบที่ปักใยสารละลายที่ไม่มี CoCl2 และน้ำตาลซูโครส 10 % จะมีการเปลี่ยนสีของดอกมากและมีอายุการปักแจกันเพียง 3.1 วัน
3.1.3.2 สารประกอบที่ปลดปล่อยคลอรีนอย่างช้าๆ ( slow - release chlorine compound ) มีผลอย่างมากในการกำจัดแบคทีเรีย สารเหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมคุณภาพของดอกไม้ระดับความเข้มข้นที่ใช้ตั้งแต่ 50 - 400 มิลลิกรัมต่อลิตรสารประกอบในกลุ่มนี้เช่น sodiumdichloroisocyanuratr ( DICA ) สารนี้ช่วยลดประชากรเชื่อจุนลินทรีย์ในน้ำทำให้ดอกไม่มีการอุดตันของท่อน้ำลำเลี้ยงน้อยและดูดน้ำมาก ( สายชล เกตุษา 2531 การใช้ DICA ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมมกับน้ำตาลซูโครส 5.0 % สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian Dior ช่วยให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยนาน 7.7วันโดยที่ไม่มีการโค้งงอของคอดอก ( สนั่น 2531) และ DICA ช่วยยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Sonia เนื่องจากช่วยลดประชากรแบคที่เรีย ( Van Doorn and Perik 1990 ) แต่ความเข้มข้นของ DICA มากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจทำให้ดอกกุหลาบ เบญจมาศและลิ้นมังกร เกิดความเสียหายได้ คือ ใบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น