วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งานที่หก

ก้านดอกแช่ในสารละลายที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส 5 % และ 8 - HQC ความเข้มขข้น  200 ส่วนต่อล้าน พบว่าช่วยให้ดอกไม้บานมากกว่า 92 % และช่วยชะลอการร่วงของดอกไม้้ Son et al. (2003) ศึกษาอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Red Sandra โดยการทำ plusing ด้วย AgNO3 ความเข้มข้น 1 มิลลิโมล และ STS ความเข้มข้น 1 มิลลิโมล นาน 3 ชั่วโมง พบว่าทำให้มีอายุการปักแจกันนาน 10.8 และ 11.1  วัน ตามลำดับ เช่นเดียวกับ Halevy and Kofranek (1977) รายงานว่า เงินมีผลต่อการยืดอายุดอกไม้ เพราะสามารถป้องกันหรือลดความเสียหายของดอกไม้ที่เกิดเอทธิลีนโดยยับยั้งการสังเคราะห์เอทธิลีน การหายใจ และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตตของจุนลินทรีย์ในสารละลายปักแจกันดอกไม้ ช่วยลดการอุดตันของท่อลำเลียง (Cameron et al 1985) 
       3.1.6 โคบอลท์ ( co + 2 ) โคบอลท์เป็นโลหะหนักซึ่งช่วยเพิ่มการดูดน้ำ ทำให้อายุการใช้งานดอกไม้นานขึ้น นิยมใช้สารประกอบโคบอลท์ในรูปของโคบอลท์อะซิเตท โคบอลท์ไนเตรท และโคบอลท์ซัลเฟท เป็นต้น Reddy ( 1986 ) รายงานว่าโคบบอลท์สามารถยับยั้งการอุดตันของท่อลำเลียง เพิ่มอัตราการเคลื่อนที่ของน้ำในก้านดอกไม้และเพิ่มน้ำหนักดอกสด ชะลอการเกิดการโค้งงอของคอดอก ยืดอายุการใช้งานและช่วยปรับสมดุลของน้ำภายในดอกกุหลาบ พิณรัตน์ ( 2528 ) ทำการทดลองใช้สารโคบอลท์คลอไรด์ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5.0 % ในดอกกุหลาบพันธุ์  Christian Dior ช่วยลดการเน่าบริเวณลอยตัด และทำให้ดอกมีอายุการใช้งานนานกว่าดอกกุหลาบที่ไม่ได้ใช้สารเคมี
         3.1.7 สารชะลอการเจริญเติบโต ( plant growth retardants ) สารชะลอการเจริญเติบโตจัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ สารชนิดนี้เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้ คือ ชะลอตัวการแบ่งเซลล์ และการยืดตัวของเซลล์บริเวณใต้ปลายยอดกิ่ง ดังนั้นจึงใช้สารกลุ่มนี้มีประโยชน์อย่างมากมายทางการเกษตร เช่น เพิ่มผลผลิตผักหลายชนิด ช่วยการติดผล เพิ่มคุณภาพผล เร่งการออกรากของกิ่งปักชำ เบญจมาศและคาร์เนชั่นยืดอายุการเก็บรักษาผัก และดอกไม้หลายชนิด ซึ่งสารชะลอการเจริญเติบโตที่ใช้ในการเก็บรักษาผักและดอกไม้ ได้แก่   daminozide ชื่อการค้า Alar 85 B - Nine ชื่อเคมี  butanedioic  acid mono - ( 2,2 dimethylhydrazide ) Larsen and Scholes ( 1965 ) r[;jklki]t]kpmujxitdv[wxfh;p daminozide 500 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำตาลซูโครส 5 % และ HQS 400 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยืดอายุการปักแจกันของคาร์เนชั่นพันธุ์ Red Gayety และพันธุ์ Peterson New PInk
               Larsen and Frolich ( 1969 ) ทำการศึกษาผลของ HQS กฟทรืนผรกำ และน้ำตาลซูโครสที่มีอัตราการหายใจ และอัตราการไหลผ่านของน้ำในดอกคาร์เนชั่นพันธุ์ Red Sim พบว่าดอกคาร์เนขั่นที่ตัดมานั้นเมื่อนำมาปักแจกันในน้ำธรรมดา อัตราการหายใจจะลดต่ำลงไป
เเรื่อยๆและค่อยเพิ่มขึ้นจนถึงที่สุดในวันที่ 6 และ 7
ตาบอลิค ( non-metabolic  sugar ) เช่น แมนนิทอล และ แมนโนส ใช้ไม่ได้ผลบางครั้งยังเกิดอันตรายกับดอกไม้อีกด้วย
           น้ำตาลนอกจากจะเป็นวแหล่งอาหารของดอกไม้แล้ว ยังมีบทบาทอื่นอีก คือ ช่วยปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ โดยรักษาโครงสร้างและหน้าที่ของไมโตคอนเดรีย ช่วยปรับสมดุลของน้ำลดลงและเพิ่มอัตราการดูดน้ำทำให้เซลล์ยังเต่งอยู่ ป้องกันการสลายตัวของโปรตีน ลดการสะสมของแอมโนเนีย และช่วยปรับความเป็นกรด-ด่างในกลีบดอก ทำให้ดอกกุหลาบเกิด blueing น้อยน้ำาตาลยังช่วยลดการละเหยของน้ำ ( nati - tranpiration ) โดยลดการเปิดปากใบ เพิ่มน้ำหนัก ป้องกันการเกิด  proteolysis ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสีของกลีบ
             นอกจากนี้สารละลายซูโครสความเข้มข้น  0.25% ยังสามารถลดการชะลอการเหี่ยวของใบกุหลาบตัดดอก ( Albert and Harper 1995 ) การทำ pulsing โดยใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำตาลซูโครส ร่วมกับ 8 - HQC 200   มิลลิกรัมต่อลิตร แช่ดอกกุหลาบบาน 10 ชั่วโมง สามารถยืดอายุการใช้งานและคุณภาพของดอกกุหลาบได้ การใช้สารละลายน้ำตาลซูโครส 10% ร่วมกับSTS 500ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้เนชั่นบานได้นานขึ้น Doi and Rei (1995) รายงานว่าการทำ pulsing โดยใช้น้ำยาส่วนผสมของ Physan เเละน้ำตาลโครส 100 กรัมต่อลิตร โดยใช้น้ำดีไอออไนซ์เป็นตัวทำละลายเเช่ดอกนาน 12 ชั่วโมง สามารถช่วยให้ดอก limoniym มีอายุการใช้งานดีขึ้น เเละลดการเสื่อมสภาพพร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน้ำเข้าสู็ดอกด้วย
               ภัชรี (2537)  ศึกษาผลของสารละลาย Physan ที่ระดับความเข้มข้น 150 ส่วนต่อล้านส่วน ร่วมกับน้ำตาลโครส 5.0% พบว่าสามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอกกุหลาบพันธุ์คริสเตียนดิออรื ไอเฟลทาวเออร์ เเยงกี้ เเละส้มเเดดได้ เพราะในสารละลายนี้มี Physan ซึ่งมีผลฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (Haievy and Mayak, 1981) ลกการอุดตันของก้านดอก น้ำจึงสามารถขึ้นไปสู่ก้่นดอกได้สะดวก ขณะเดียวกันมีน้ำตาลซูโครสช่วยลดการระเหยของน้ำ โดยการลดการเปิดปากใบ ช่วยให้ดอกกุหลาบไม่ขาดน้ำ ลดการสะสมของเเอมโมเนียที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของเม้ดสีให้กลีบดอก
               3.1.3 สารควบคุมเชื้อจุลนทรีย์ เป็นสิ่งจำเป็นในสารละลายเคมีเเช่ดอกไม้ เพราะว่าในน้ำยาที่ใช็ดอกไม้มักจะมีเชื้อรา เเบคทีเรีย เเละยีนตื ปะปนอยู่ อาจทำให้เกิดการอุดตันของก้านดอกทำให้ก้านดอกดูดน้ำได้น้อยลง ส่งผลให้ดอกไม้เกิดการร่วงดรยได้เร็ว เเละมีอายุการปักเเจกันสั่นลง ทำให้เกิดการอุดตันเเละขัดขว้างการดูดน้ำของก้านดอก จึงยิยมเติมสารยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ลงไปในน้ำยาด้วย (ยุงยุทธ, 2540)
               3.1.3.1 8-ไฮดรอกซีควิโนลีน (8-hydroxyquinoline ; 8-HQ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในรูปของเกลือซัลเฟต(HQS) เเละเกลือซิเตรท (HQC) Rogers (1973)  รายงานว่า  การใช็ที่ความเข้มข้น   200-600 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า HQS เเละ HQC เเละสามารถควบคุมการเจริญของเเบคทีเรียเเละเชื้อราในน้ำได้ สาร HQC สามารถรดการอุดตันของท่อลำเลียงได้ เนื่องจากทำหน้าที่เป็น chelating agent ในการจับกับโลหะ ได้เเก่ ได้เเก่ เหล็ก เเลละทองเเดง ซึ่งโลหะเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเนื้อเยื่อเเละทำให้เกิดการอุดตัน เมื่อโลหะถูกยึดไว้ เอนไซม์จึงทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงลดการอุดตันได้ Ichimura and Hisamatsu (1999) รายงานว่า การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำตาลโครส 50 กรัมต่อลิตร สามารถยืดอายุการปักเเจกันของดอก Snapdragon  นอกจากนี้การใช้ 8-HQS ความเข้มข้น 50-400มิลลิกรัมต่อลิตร เเละน้ำตาลซูโครส 5.0% สามารถช่วยลดการเกิด buieing การโค้งงอขอคอดอก เเละการอุดตันของท่อลำเลียงของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian  Doir ทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ซึ่งเติม 8-HQS เเละ 8- HQC ลงไปในน้ำจะทำให้น้ำสภาพในเป็นกรด(pH ประมาณ 4) ทำให้จุลินทรีย์ ในน้ำเจริญเติบโตได้น้อย ช่วยรักษาสมดุลของน้ำเเละมีผลในการยับยั้งการสร้างเอทธิลีนในดอกคาร์เนชั่นด้วย ( Halevy and Mayak 1981 ) โสภิณ ( 2535 ) รายงานว่าการยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดงพันธุ์ " Christian Dior ) โดยสารละลาย  เข้มข้น  0 200 300 400 ส่วนต่อล้านส่วน และ 8-hydroxyquinoline  เข้มข้น 200 400 600 ส่วนต่อส่วนล้าน ทั้งที่มีและไม่มีน้ำตาล ซูโครส 10 %  ในน้ำกลั่นที่ปรับ pH ให้เป็น 4 ด้วยกรดซตริในการปักแจกันที่ห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 23 องศา เซลล์เซียนความชื่นสัมพัทธ์ 70.25 % โดยเฉลี่ยปรากฎว่า ในดอกกุหลาบที่ปักใยสารละลายที่ไม่มี  CoCl2 และน้ำตาลซูโครส 10 % จะมีการเปลี่ยนสีของดอกมากและมีอายุการปักแจกันเพียง 3.1 วัน
             3.1.3.2 สารประกอบที่ปลดปล่อยคลอรีนอย่างช้าๆ ( slow - release  chlorine compound ) มีผลอย่างมากในการกำจัดแบคทีเรีย สารเหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมคุณภาพของดอกไม้ระดับความเข้มข้นที่ใช้ตั้งแต่ 50 - 400 มิลลิกรัมต่อลิตรสารประกอบในกลุ่มนี้เช่น sodiumdichloroisocyanuratr ( DICA ) สารนี้ช่วยลดประชากรเชื่อจุนลินทรีย์ในน้ำทำให้ดอกไม่มีการอุดตันของท่อน้ำลำเลี้ยงน้อยและดูดน้ำมาก ( สายชล เกตุษา 2531 การใช้ DICA ความเข้มข้น  30 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมมกับน้ำตาลซูโครส 5.0 % สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Christian Dior ช่วยให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยนาน 7.7วันโดยที่ไม่มีการโค้งงอของคอดอก ( สนั่น 2531) และ  DICA ช่วยยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ Sonia  เนื่องจากช่วยลดประชากรแบคที่เรีย ( Van Doorn and Perik 1990 ) แต่ความเข้มข้นของ DICA มากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร อาจทำให้ดอกกุหลาบ เบญจมาศและลิ้นมังกร เกิดความเสียหายได้ คือ ใบ
 

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งาน 2

พล และสายชล ( 2532 ) ศึกษาคุณภาพของชนิดน้ำต่างๆที่มีผลต่ออายุการปักแจกันดอกกุหลาบ พบว่าการปรับความเป็น กรด - ด่าง ของน้ำที่ใช้ปักแจกันให้มีสภาพเป็นกรด  โดยใช้กรดซิตริกมีแนวโน้มทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันนานขึ้น โดยที่ความเป็นกรด - ด่างเป็น 4 ในน้ำที่ปราศจากประจุและน้ำกลั่นให้อายุปักแจกันนานที่สุด เนื่องจากน้ำแหล่งต่างๆมักมีอนุภาคบางอย่างละลายอยู่หรือมีอนุภาคบางชนิดแขวนลอยอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น น้ำบาลดามีแคลเซียมคาร์บอเนท ละลายอยู่มาก ทำให้มีการอุดตันในระบบท่อลำเลี้ยงน้ำได้ง่าย
          น้ำจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำกลั่น น้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา มีคุณภาพแตกต่างกันืเมื่อใช้น้ำแหล่งต่างๆเหล่านี้เตรียมน้ำยาประสิทธิภาพของสารละลายเคมีต่างๆในการปักแจกัน การทำพัลซิ่ง ( plusing ) และการเร่งการบานของดอกจะแตกต่างกันด้วย น้ำกลั่นสามารถยืดอายุการปักแจกันดอกไม้ และเพิ่มประสิทธิภาพของสารที่ใช้ยืดอายุการใช้งานดอกไม้ได้ดีเพราะช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำ ลดอัตราการโค้งงอของดอก และเพิ่มอัตราการดูดน้ำ
        นอกจากนี้มีรายงานว่าถ้าในน้ำมีปริมาณ TDS 200 ส่วนต่อล้านส่วน จะทำให้ดอกกุหลาบ เบญมาศและคาร์เนชั่น มีอายุการใช้งานสั้นลง เช่นเดียวกันถ้ามีปริมาณเกลือในน้ำ 100 ส่วนต่อล้านส่วน ทำให้อายุการใช้งานของดอกไม้ลดลงไปด้วย เช่น การเติมกรดอินทรีย์บางชนิดเพื่อปรับความเป็น กรด - ด่าง ให้ได้ประมาณ 3 -4 เพราะจะทำให้อัตราการไหลของน้ำในก้านดอกเพิ่มขึ้นและทำให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำเป็นไปอย่างช้าๆ (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )
3.1.2 น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัยของดอกไม้ เพราะดอกไม้ใช้น้ำตาลในกระบวนการการหายใจและพลังงาน ATP ซึ่งดอกไม้นำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ( สายชล เกตุษา 2531) ดอกไม้เมื่อตัดออกจากต้นแล้วดอกไม้จะขาดอาหารที่ได้รับจากต้น ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในก้านดอกจะถูกไปใช้เเรื่อยๆ เมื่ออาหารหมดดอกก็ร่วงโรยไป โดยน้ำตาลที่นำมาใช้มีสองประเภท คือน้ำตาลเมตาบอลิลิค ( metabolic  sugar )เช่นซูโครส ฟรุกโตส กลูโคส แลกโตสและมอลโตส เป็นต้นน้ำตาลในกลุ่มนี้นิยมใช้มากที่สุด คือ ซูโครส เพราะหายซื้อได้ง่าย ราคาถูก และใช้ได้ผลดี เนื่องจากน้ำตาลซูโครสเคลื่อนที่ในท่อลำเลียงได้เร็วกว่ากูสโคสและฟรุกโตส( ช ณิฏฐ์ศิริ  2526 ) เมื่อซูโครสเคลือนไปถึงตัวดอกซูโครสจะเปลี่ยนเป็นกูลโคสและฟรุกโตสโดยปฏิกิริยากับเอนไซม์ซึ่งดอกไม้จะนำไปใช้ในกระบวนการหายใจต่อไปนี้ ( สายชล เกตุษา และ กิตติพงศ์ ดรียานนท์  2531 ) สำหรับควมเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสที่จะใช้ขึ้นอยู๋กับวัตถุประสงค์ของการใช้ดอกไม้ กล่าวคือในการใช้ pulsing bud opening มักจะใช้ความเข้มข้นที่แน่นอนมากกว่าการใช้ holding (ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )น้ำตาลนอนเม

งาน1

2.3 การสร้างเอทธิลีน
เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืช ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแก่ในส่วนต่างๆของพืช ก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้เกิดความผิดปกติแก่ดอกไม้สดหลายชนิดซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานหรืออายุการเก็บรักษาดอกไม้ ดอกไม้แต่ละชนิดตอบสนองต่อ เอทธิลีนในระดับที่ต่างกัน ทำให้แบ่งดอกไไม้ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการสร้างเอทธิลีนของดอกไม้ประเภท  climacteric และ non- climacteric  การผลิตเอทธิลีนของดอกไม้พวก climacteric จะมี 3 ระยะคือ การหายใจระยะแรกเมื่อดอกเริ่มบาย จะมีการผลลิตเอทธิลีนจะลดลง( ช. ณิฎฐศิริ สุยสุวรรณ 2526 ) เช่น ลิ้นมังกร และคาร์เนชั่น วึ่งมีความอ่อนแอต่อเอทธิลีนต่อเอทธิลีนแม้ว่าจะได้รับเอทธิลีนมาก่อนที่ดอกจะเข้าสู่ระยะเสื่อมสภาพ ( สายชล เกตุษา 2528)  Lin et al. (2001)พบว่าการให้เอทธิลีนจากภายนอกกับพันธุ์ Grand Gala  และพันธุ์  Goldel Model เพียง 0.1 - 2 ส่วนต้นล้านส่วน มีผลในการเพิ่มการบานของดอก และทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
Hcins ( 1980 ) พบว่าเอทานอสสามารถยับยั้งการสังเคราะห์ก๊าซเอทธิลีนในดอกไม้โดยมีความสัมพันธ์กับก๊าซออกซิเจน กล่าวคือ การขาดออกซิเจนนำไปสู่การสะสมแอทนอลความสมดุลของน้ำ  คือ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักของน้ำที่ดอกไม้ดูดเข้าไปกับน้ำที่คายออกมากลังจากตัดดอกไม้มาใหม่ๆการคายน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะปากใบปิด (Mayak and Halevy 1974 ) แป้งหอม ( 2527 ) ศึกษาการใช้เอทธานอลที่ระดับความเข้มข้น  o, 1.0,2.0,3.0,และ 4.0 % ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 0 และ 5.0 % ในน้ำกลั่นซึ่งปรับ pH  ด้วยกรดซิตริกให้เป็น 4 เป็นสารละลายในการปักแจกันของดอกกุหลาบสีแดง และสีชมพู  ที่ห้องปรับอุณหภูมิเฉลี่ย 23.8 ซผลปรากฎว่สในสารละลายเอทธานอล 3.0% ร่วมกับน้ำตาลโซโครส 5.0 %  ทำให้ดอกกกุหลาบทั้งสองพันธ์มีอายุการปักแจกันนานที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกุหลาบดอกเพีงเล็กน้อย การไหม้ของกลีบดอกเพีงเล็กน้อยและการเหี่ยวช้าลงที่สุด และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดก้านดอกโค้งงอน้อยที่สุด ซึ่งดีกว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันที่ไม่มีเอทธานอลและน้ำตาลซูโครสมีการเปลียนแปลงสีของกลีบดอกมากกว่าและมีเปอร์เซ็นต์การเกิดคอดอกโค้งสูงที่สุด
ลักษณะอาการที่ผิดปกติที่พบดอกไม้สด อันเป็นผลเสียหายเนื่องมาจากเอทธิลีนได้แก่อาาการกลีบดอกม้วนงอเข้า หรือเรียกว่า sleepiness ซึ่งพบในดอกคาร์เนชชั่นและกุหลาบหินลักษณะดอกมีสีซีดและม้วนงอข้าวของดอกผักบุ้งฝรั่งการเหี่ยวและสีซีดของปาก (lip) และการร่วงของดอกและกลีบกล้วยไม้ เป็นต้น
นอกจากนี้เอทธิลีนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเอมไซม์ หรืออาจทำให้โครงสร้างทางกายภาพของเซลล์เปลียนไป โดยมีผลต่่อการผ่านเข้าออกสารต่างๆที่บริเวณเยื่อหุ้มแวคิวโอล ( tonoplast ) และส่งเสริมการรั่วไหลของสารจากแวคิวโอล ( cytoplasm ) และมีอิทธิพลต่อการทำงานของเอมไซม์ protease ในรังไข่ของดอกกุหลาบทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ชนิดนี้ในรังไข่ลดลง Halevy and  Mayak (1981) พบว่าเอทธิลีนสามารถเร่งให้กลีบดอกเหี่ยวเร็วขึ้นโดยกระตุ้นให้มีความเคลื่อนที่คาร์โบไฮเดรตจากกลีบดอกและก้านดอกไปสู่รังไข่ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรังไข่และกลีบดอก เมื่อปลิดกลีบดอกออก พบว่ามีการเจริญของรังไข่ดีข้น นอกจาดนี้เอทธีลีนอาจจะเกิดบาดแผลหรือโรคที่ติดมาซึ่งจัดเป็นเอทธิลีนที่เกิดในสภวะเครียด
3. การปฏิบัติหลังการตัดดอก
การปฏิบัติต่อดอกไม้ในคณะที่ตัดดอกและหลังการตัดดอก มีผลต่อคุณภาพดดอกไม้และการรักษาดอกไม้ให้ห้องคงสภาพสวยงามอยู่ได้เป็นระยะเวลานานนั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่ออุสาหกรรมไม้ตัดดอก ทั้งนี้เนื่องจากดอกไม้สดที่ตัดมาจากต้นไม้ภายหลังการตัดดอกจึงมีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกไม้ก่อนตัดไว้ การปฏิบัติหลังการตัดดอกยังรวมถึงตัดขน่ด และคุณภาพ กรบบรจุหีบห่อเพื่อขนส่ง  ตลอดจนการเก็บรักษา ( Reid 1985 ) รวมถึงการใช้สราเคมีเพื่อเพิ่มคุณภาพหรือยืดอายุ การใช้ดอกไม้เหล่านี้ (นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 )
3.1การใช้สารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพและยืืดอายุการใช้งาน
            สารละลายเคมีใช้แช่ดอกไม้มีหลายอย่าง ได้แก่ น้ำ สารอาหาร ( น้ำตาล ) สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และสารระงับการสังเคราะห์และการทำงานของเอทธิลีน ( นิธิยา  รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุญยเกียรติ 2536 ) ซึ่งสารเหล่านี้มีหน้าที่และคุณสมบัติดังนี้
3.1.1 น้ำ  เป็นสารประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารละลายที่ใช้ยืดอายุการปักแจกันของดอกไม้ เนื่องจาดน้ำทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำำคัญของเซลล์พืช มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการต่างๆทางชีวเคมีและสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การคายน้ำ และอื่นๆ เป็นต้น น้ำที่ใช้แช่ดอกไม้นั้น พบว่น้ำกลั่น และน้ำที่ปราาศจากประจุ หรือน้ำที่แยกเอาประจุออกไปแล้วจะใช้ได้ดีกว่าการใช้น้ำประปา เนื่องจากน้ำที่ปราศจากประจุจะช่วยให้สารเคมีละลายได้ดีกว่ากัน และไม่มีสิ่งที่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีปนอยู่ สารเคมีที่ใช้จึงมีประสิทธิภาพดี ส่วนน้ำประปามักจะมีคลอรีนปนอยู่ ซึ่งสารเคมีบางชนิดจะทำปฏิกิริยากับคลอรีนเกิดเป็นตะกอน เช่น ซิลเวอร์ไนเตรท ทำให้ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไนเตรททดลองนอกจากนี้ยังมีประจุบางชนิด เช่น ฟลูออไรด์ ซึ่งดอกไม้บางชนิดจะอ่อนแอต่อฟลูออไรด์ ทำให้เป็นพิษกับดอกไม้ เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ และเบญจมาศ เป็นต้น น้ำที่มีปริมาณของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ ( TDS ) หรือปริมาณเกลือ ( ความเค็ม ) ในน้ำ จะมีผลต่อร่วงโรยของดอกไม้ในน้ำด้วย( ยงยุทธ ข้ามมี่ 2540 )

งาน

2.การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมจะมีผลต่อสุขภาพ และอายุการใช้งานของดอกไม้นอกเหนือจากการดูแลรักษาดอกไม้ให้สมบูรณ์เพื่อคุณภาพดอกไม้ก่อนตัดด ซึ่งขั้นตอนหลังการเกก็บเกี่ยวของผลผลิตสดทั่วไปนั้นจะเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสมการคัดขนาด  การบบรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่งโดยขั้นตอนต่างๆจะช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้นานที่สุดจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วดอกกุหลาบหลังจากที่ตัดมาจากต้นมักเสียคุณภาพเร็ว และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าดอกกุหลาบที่มีอายุเท่ากันที่บานอยู่บนต้น  ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 ) เนื่องจากถูกตัดออกจากต้นจะขาดแหล่งอาหาร น้ำ และแราธาตุที่เคยได้รับจากธรรมชาติเมื่ออยู่บนต้นเดิม แต่ดอกไม้ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่นเดียวกันกับขณะที่ยังอยู่บนต้นเดิม เช่น การหายใจ การสร้างเอทธิลีน และการคายน้ำ การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ของดอกกุหลาบมีผลกระทบต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกกุหลาบด้วย  ( สายชล  เกตุษา  2528 )
2.1การหายใจ
การหายใจของดอกไม้หลังจากการถูกตัดขาดจากต้นแม่ ยังดำเนินไปต่อเนื่อง ( Nichols 1957 ) ในขณะที่ปริมาณอาหารที่ใช้ในการหายใจยังมีอยู่อย่างจำกัด การหายใจจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่สะสมภายในดอกไม้และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกด้วย เช่น ชนิดอายุของดอกไม้บาดแผล สภาพแวดล้อม ตลอดจนสารเคมีบางชนิด ( ยงยุทธ ข้ามสี  2540 )  รวมทั้งระยะการบานของดอกด้วยโดยอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อดอกบานและค่อยๆๆลดลงเมื่อดอกเหี่ยวหรือเสือมสภาพ ( นิธิยา รัตนปนนท์ และดนัย บุญยเกียรติ 2537 ) แต่ก่อนที่จะเสื่อมสภาพนั้น พบว่ามีการหายใจเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการหารใจเพิ่มสูงขึ้นแล้วดอกไม้จะเข้าสู่การเสื่อมสภาพเช่นเดียวกับผลไม้ทั่วไปกระบวนการหายใจที่เพิ่มขึ้นนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในต่างๆทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในขณะที่เกิดการเสือมสภาพนี้อาหารสำรองจะลดลงเรื่อยๆจึงได้มีการศึกษาการยืดอายุการใช้งานของดอกไม้ในช่วงนี้กันมาก Mayak and Halevy ( 1980 ) กล่าวว่าการเพิ่มน้ำตาลจากภายนอกสามารถส่งเสริมน้ำหนักแห้ง และอาหารสำรองของกลีบดอกเิ่มขึ้น ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ในขณะที่น้ำตาลแห้ง การสร้า ATP จะลดลงกระบวนการเสื่อมสภาพนั้นถูกควบคุมโดยปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่ง ( reducing  sugar ) อนุพันธ์ของไฮโดรไลส์แป้งและโพลีแซคาไรค์โมเลกุลใหญ่ ( Nichols R 1976 ) ปัจจัยที่ผลต่อการหายใจ ( สายชล  เกตุษา  2528 )
1. ชนิดของดอกไม้ ดอกไม้แต่ละดอกมีอัตราการหายใจไม่เท่ากัน และแต่พันธุ์มีอัตราการหายใจแตกต่างกันอีกด้วย
2.อายุของดอกไม้ ดอกไม้ที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าดอกไม้ที่มีอายุมากดอกไม้ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นอย่างเร็วรวด และหมดอย่างรวดเร็วเมื่อหมดอายุการใช้งาน
3.บาดแผล ดอกไม้ที่ได้รับบาดแผลจะทีอัตราการหารใจสูงขึ้นเป็นการหายใจที่เพิ่มขึ้น  เนื่องจากมีบาดแผล ( wound respiraton )
4. อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำยับยั่งการหายใจและอุณหภูมิเพิ่มการหายใจ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นหรือเกินอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการหายใจของดอกไม้ชนิดนั้นๆดอกไม้จะมีอัตราการหายใจลดลง เพราะอุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจ
5. ออกซิเจน บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 21 % จะยับยั่งการหายใจของดอกไม้ เพราะออกซิเจนมีความสำคัญของกระบวนการหายใจ โดยนำไปใช้ในการปฏิกิริยาการสลายตัวของน้ำตาลเพื่อให้ได้พลังงาน
6. คาร์บอนไดออกไซด์ บรรยากาศที่มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 0.03 % จะยับยั้งการหายใจของดอกไม้
7. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชมีทั้งการยับยั้งการเพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น 6 - benzylamino purine (BA) และกลุ่มที่เพิ่มการหายใจของดอกไม้ เช่น เอทธิลีน และกรดแอบซิสซิก เป็นต้น
8. สารอื่นๆเป็นสารเคมีเป็นสารเคมีที่ไม่ใช่สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช แต่สามารถยับยั้งการหายใจ แต่จุดประสงค์หลักในการใช้สาร คือ ลดประชากรจุลินทรีย์ในน้ำที่ใช้แช่หรือปักแจกัน เช่น 8 - hydroxyquinoline ในรูปของเกลือซิเตรทหรือซัลเฟต
2.2 การเปลี่ยนสีของกลีบ
การเปลียนแปลงสีของกลีบดอกไม้เกิดเมื่อมีอายุมากขึ้น มีรงควัตถุ 2 ชนิดที่เกี่ยวข้อง คือ แคโรทีนอยด์ ( carotenoid )และ แอนโทไซยานิน (  anthocyanin  ) โดยการเปลี่ยนแปลงของกลีบดอกเกิดเนื่องจากการสูญเสียสมดุลของน้ำ ทำให้กลีบดอกกุหลาบเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินม่วง ( blueing ) ( สายชล  เกตุษา  2528 ) Halevy and Mayak ( 1981 )รายงานว่าเกิดการ blueing เกิดจากการสูณเสียของน้ำทำให้เกิดการสลายตัวของโปรตีน ( proteolysis ) ส่งผลให้เกิดการสะสมแอมโมเนีย ( NH 3) ในส่วนของแวคิวโอล( vacuole )มากขึ้นเมื่อระดับความเป็นกรด -ด่าง ใน cell sap และแวคิวโอลเพิ่มขึ้น ความเป็นกรดจะลดลงจนสภาพเป็นด่าง ทำให้รงควัตถุแดงไม่คงตัวในสภาพเป็นด่างจึงเป็นสีน้ำเงิน ส่งผลให้กลีบดอกกุหลาบสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินม่วงการใช้อุณหภูมิต่ำ และสารเคมีบางอย่างสามารถป้องกันการเปลี่ยนสีของกลีบดอกไม้ได้( สายชล  เกตุษา  2528 )